“การประเมินความยั่งยืน”

>> ก้าวสำคัญของการยกระดับการประเมินความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนไทย

“การประเมินความยั่งยืน”...ก้าวสำคัญของการยกระดับการประเมินความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนไทย

การประเมินความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนเป็นเครื่องมือเพื่อการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและสร้างความอยู่รอดขององค์กรในระยะยาว ขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องมือช่วยสร้างผลเชิงบวกต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้เสียด้วย

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้พัฒนา ‘แบบประเมินความยั่งยืน’ และจัดให้มีการประเมินดังกล่าวอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประวงค์เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนที่เข้าร่วมการประเมินได้ทราบว่าในกระบวนการบริหารจัดการธุรกิจยังสามารถพัฒนาปรับปรุงประเด็นใดเพิ่มเติมได้ รวมถึงได้เห็น แนวโน้มด้านความยั่งยืน (Sustainability Trends)’ ที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับสากลและในประเทศ

โดยมีกระบวนในการพัฒนาแบบประเมินความยั่งยืน ดังนี้


สำหรับปี 2562 นี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ ยกระดับ การประเมินความยั่งยืนให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมยิ่งขึ้น เพื่อให้บริษัทสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานให้สอดคล้องกับลักษณะธุรกิจของบริษัท โดยพัฒนาแบบประเมินความยั่งยืนสำหรับ 8 กลุ่มอุตสาหกรรม(https://www.set.or.th/th/regulations/simplified_regulations/industry_sector_p1.html) ตามการแบ่งกลุ่มของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้แก่

กลุ่ม 1 ธุรกิจการเงิน (FINCIAL)

กลุ่ม 2 เทคโนโลยี (TECH)

กลุ่ม 3 เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (AGRO)

กลุ่ม 4 อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (PROPCORN)

กลุ่ม 5 สินค้าอุปโภคบริโภค (CONSUMP)

กลุ่ม 6 บริการ (SERVICE)

กลุ่ม 7 สินค้าอุตสาหกรรม (INDUS)

กลุ่ม 8 ทรัพยากร (RESOURC)

โดยจะประกอบด้วยชุดคำถามที่ครอบคลุมใน 3 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยแบ่งเป็น

1) ข้อคำถามทั่วไป (General Questions) สำหรับใช้ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม

2) ข้อคำถามเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม (Industry-specific questions) ซึ่งเป็นข้อคำถามที่สอดคล้องกับบริบทและสาระสำคัญของกลุ่มอุตสาหกรรมทั้ง 8 กลุ่ม

บริษัทจดทะเบียนที่เข้าร่วมการประเมินฯ จะได้รับผลคะแนนและข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนากระบวนการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัท สำหรับบริษัทที่มีคะแนนการประเมินถึงเกณฑ์ที่กำหนดและผ่านการคัดกรองด้านคุณสมบัตินั้นมีโอกาสได้รับการคัดเลือกเป็น “หุ้นยั่งยืน” หรือ Thailand Sustainability Investment (THSI) รวมถึงเป็นหุ้นในดัชนีด้านความยั่งยืน (SETTHSI Index) ซึ่งปัจจุบันได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนสถาบันที่นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน

นอกจากนี้ บริษัทยังมีโอกาสได้รับรางวัล SET Awards ประเภทรางวัลบริษัทจดทะเบียนด้านความยั่งยืน (Sustainability Excellence) ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับบริษัทจดทะเบียน “ต้นแบบด้านความยั่งยืน” อีกด้วย