ลงทุน...“หุ้นยังยืน”

>>

ทำไมต้องลงทุนใน “หุ้นยั่งยืน” ถ้าคุณเป็นคนที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ชอบลงทุนในบริษัทที่ดำเนินงานอย่างโปร่งใส สนับสนุนกิจการที่ดูแลสังคม ต้องการผลตอบแทนที่ดีและยั่งยืนในระยะยาว “หุ้นยั่งยืน” คือคำตอบ


“หุ้นยั่งยืน” เลือกได้จากไหน

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะประกาศรายชื่อบริษัทที่จัดอยู่ในกลุ่ม “หุ้นยั่งยืน” อย่างเป็นทางการภายใต้ชื่อ ‘Thailand Sustainability Investment’ ซึ่งเป็นกลุ่มหุ้นที่มีความโดดเด่นด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG: Environment, Social, Governance) ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน


“การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (
Environment)”

หมายถึง การที่บริษัทมีนโยบายและกระบวนการทำงานในองค์กรเพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมอย่าง ชัดเจนและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ได้ รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท


“การจัดการด้านสังคม (
Social)”

หมายถึง การที่บริษัทมีนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน มีการส่งเสริมและพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง และมีคุณภาพ นอกจากนี้ ยังหมายถึงการที่บริษัทสนับสนุนคู่ค้าให้มีการ ปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเหมาะสม รวมทั้งเปิดโอกาสให้ชุมชนที่บริษัท มีความเกี่ยวข้องให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

 

“บรรษัทภิบาล (Governance)”

หมายถึง การที่บริษัทมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดำเนินงานอย่าง โปร่งใส มีแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่ชัดเจน ต่อต้านทุจริตและ คอร์รัปชั่น ตลอดจนดูแลผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งรวมถึงการจ่ายภาษีให้แก่ ภาครัฐอย่างโปร่งใส


เราลองมาดูแนวคิดเรื่องนี้จากมุมมองของผู้ลงทุนต่างประเทศกันบ้าง ผู้ลงทุนในต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับ ‘การลงทุนอย่างยั่งยืน’ มีวิธีการเลือกบริษัทเพื่อตัดสินใจลงทุนอยู่หลายรูปแบบ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

1.Negative/exclusionary Screening คือ การเลือกที่จะไม่ลงทุนในบริษัทที่มีการ ดำเนินงานด้าน ESG ที่ไม่เป็นที่ยอมรับ เช่น บริษัทในธุรกิจที่ผิดหลักจริยธรรม หรือธุรกิจผลิตอาวุธสงคราม เป็นต้น   

 

2.Positive/best-in-class Screening คือ การเลือกลงทุนในบริษัทหรือโครงการ ที่มีการดำเนินงานด้าน ESG ที่เป็นเลิศ เมื่อเทียบกับบริษัทและโครงการในกลุ่มเดียวกัน

 

3.Norms-based Screening เป็นการเลือกลงทุนโดยอ้างอิงกับแนวปฏิบัติด้าน ESG ในระดับสากล เช่น ปฏิบัติตามหลักการ ของ United Nations Global Compact (UNGC) ที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน การดูแล แรงงาน สิ่งแวดล้อม และต่อต้านคอรัปชั่น เป็นต้น

 

4.Integration of ESG Factors เป็นการน ปัจจัย ESG มาใช้ในกระบวนการของการ วิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจลงทุนร่วมกับ การวิเคราะห์ทางการเงินแบบดั้งเดิม


5.Sustainability Themed Investing คือ การเลือกลงทุนให้มีความเกี่ยวข้อง กับความยั่งยืน เช่น พลังงานสะอาด เทคโนโลยีสีเขียว การเกษตรแบบ ยั่งยืน เป็นต้น

 

6.Impact/community Investing เป็น การลงทุนที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจงใน การแก้ไขปัญหาสังคมและปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อม หรือการให้ความช่วยเหลือ ทางการเงินแก่ธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ที่ ชัดเจนเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม

 

7.Corporate Engagement and Shareholder Action คือ การดำเนินการของผู้ถือ หุ้นเพื่อผลักดันให้บริษัทมี การปฏิบัติด้าน ESG เช่น สื่อสารกับผู้บริหารระดับสูง หรือคณะกรรมการ หรือเสนอ ต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้ ลงมติให้บริษัทดำเนินการ ด้าน ESG เป็นต้น


 

ที่มา: Global Sustainable Investment Alliance http://www.gsi-alliance.org/