“ASI”…บูรณาการ ‘ESG’ สู่การลงทุนที่ดีกว่า Overweight ‘หุ้นไทย’-คาด FED หั่นดอก 2 ครั้ง

>>

Aberdeen Standard Investments : ASI” หนึ่งในนักลงทุนสถาบันชั้นนำของโลก ทีให้ความสำคัญกับการบูรณาการเรื่อง ‘ESG’ สู่กระบวนการลงทุนแห่งอนาคต หากย้อนหลังไปสัก 25 ปี ในช่วงศตวรรษที่19  เรื่อง ‘ESG’ อาจเป็นเรื่องใหม่แต่ในปัจจุบันกับเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบและและสร้างสรรค์สังคม โดยคำนึงถึง

  • E : Environment (สิ่งแวดล้อม)
  • S : Social (สังคม)
  • G : Governance (ธรรมภิบาล)

           
เพื่อการลงทุนอย่างยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งการลงทุนดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การลงทุนที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลกในปัจจุบัน ซึ่ง ‘ESG’ ถูกทำให้ชัดขึ้นในกระบวนการลงทุนของ ‘ASI’



“หุ้น-
ESG” ดี...ผลตอบแทนดีกว่าในระยะยาว

         
David A. Smith” ,Head of Corporate Governance, Aberdeen Standard Investment (Asia) Ltd. บอกว่า ‘MSCI’ มีการศึกษาผลตอบแทนของหุ้นโดยใช้การแบ่งจากคะแนน ESG เป็น 5 ระดับ (Quintiles) ตั้งแต่ ‘Q1’ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีคะแนน ‘แย่สุด’ ไปจนถึงกลุ่ม ‘Q5’ ซึ่งมีคะแนน ‘สูงสุด’ โดยทดสอบในช่วง 10 ปี พบว่าหุ้นที่อยู่ในกลุ่มที่มีคะแนน ESG-สูงสุด (Q5) มีผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นที่มีคะแนน ESG ต่ำกว่าในกลุ่ม Quintiles อื่นๆ  ซึ่งมีคะแนน ESG ต่ำกว่า และนี่คือ ‘หัวใจ’ และ ‘ความสำคัญ’ ของการลงทุนอย่างยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งได้รับความสนใจจากกลุ่มนักลงทุนสถาบันทั่วโลกมากขึ้นตามลำดับ


 
( David A. Smith )

           
“แต่ผลตอบแทนใน ‘ระยะสั้น’ นั้นขึ้นกับหลายปัจจัย ซึ่งอาจทำให้ภาพของการลงทุนในหุ้นที่มี ESG ที่ดีไม่ชัดนัก เช่น สภาพคล่องที่ล้นโลกในช่วงหลังวิกฤติก็ผลักให้สินทรัพย์ต่างๆ ปรับตัวขึ้นพร้อมๆ กัน หุ้นที่มี ESG ที่ดี และไม่ดี ต่างก็ปรับตัวขึ้น แต่เชื่อว่าในระยะยาวแล้วหุ้นที่มี ESG ที่ดีจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าได้ เพราะท้ายสุดทุกอย่างคงต้องกลับมาที่คุณภาพ ปัจจุบันเรายังคงชอบ ‘ตลาดเอเชีย’ และ ‘ตลาดเกิดใหม่’ อยู่”

 


“หุ้นไทย” แพงแล้ว...แต่
‘ASI’ ยังให้น้ำหนักการลงทุนเป็น Overweight

         
ด้าน “อดิเทพ วรรณพฤกษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการลงทุน บลจ.อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด อธิบายเพิ่มเติมว่า เดิมกระบวนการลงทุนของบริษัทมีการคำนึงถึงเรื่องของ ‘ESG’ มานานแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคัดเลือกตราสารเพื่อลงทุนของบริษัท แต่ในอดีตเราอาจจะเน้นไปที่ตัว ‘G- Governance (ธรรมภิบาล)’ เป็นหลัก หลังจากที่เราเป็น ‘ASI’ แล้ว ก็มีองค์ความรู้และเครื่องมือต่างๆ มาให้ใช้เพื่อเพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุนมากยิ่งขึ้น   จริงๆ แล้ว ‘E : Environment (สิ่งแวดล้อม)’ และ ‘S : Social (สังคม)’ ก็เป็นส่วนหนึ่งของ ‘G- Governance (ธรรมภิบาล)’ เพียงแต่เราดึงออกมาให้มันชัดขึ้นซึ่งจะอยู่ในขั้นตอนของกระบวรนการลงทุนของบริษัทมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว

           
“ในต่างประเทศ ‘ASI’ มี ‘กองหุ้น ESG’ โดยเฉพาะ เพราะตลาดต่างประเทศกว้างและมี Universe ให้เลือกลงทุนมาก แต่ในไทยเราคงไม่ได้จัดตั้งกองหุ้น ESG ขึ้นมาเพราะอยู่ในกระบวนการลงทุนของเราอยู่แล้ว (กระบวนการ ESG ภายในบริษัท) อีกทั้ง Universe ของหุ้นก็ไม่มากพอที่จะทำด้วย”


 
( อดิเทพ วรรณพฤกษ์ )

           
ปัจจุบัน ‘หุ้นไทย’ ค่อนข้างแพงแล้ว แต่ทาง ‘ASI’ ยังคงให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นไทย ‘Overweight’ โดยมีน้ำหนักการลงทุนประมาณ 3.5% ในขณะที่หุ้นไทยมีน้ำหนักในดัชนีประมาณ 1.8% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริษัทดีๆ ที่มีคุณภาพยังมีให้ลงทุนนั่นเอง โดยปัจจุบันบริษัทยังคงชอบหุ้นที่ให้อัตราปันผลที่ดีอย่างน้อยก็เท่ากับตลาด หรือมากกว่าตลาดอย่างสม่ำเสมอในระยะยาวเป็นสำคัญ

 


คาด
‘FED’ หั่นดอกเบี้ยปีนี้ไม่เกิน 2 ครั้ง...ยังไม่คิดว่ามี ‘วิกฤติ’ เกิดขึ้น


ในฝั่งการลงทุนตราสารหนี้นั้น “พงค์ธาริน ทรัพยานนท์” หัวหน้าฝ่ายการลงทุน-ตราสารหนี้ บลจ.อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า ไม่แตกต่างกันในการนำ ‘ESG’ เข้ามาใช้ในกระบวนการลงทุนของเรา ทั้งส่วนที่เป็น ‘หุ้นกู้’ ของตราสารหนี้เอกชน และ ‘พันธบัตรรัฐบาล’ ซึ่งเป็นของภาครัฐ จะมีต่างนิดเดียว คือ ในส่วนของภาครัฐนั้น เราจะนำเอาตัว ‘P-Politic’ เข้ามาพิจารณาด้วย จริงๆ ‘ESG’ ช่วยให้เราสามารถนิยามความเสี่ยงของตราสารที่จะลงทุนให้ ‘ชัดเจน’ มากยิ่งขึ้น เมื่อพิจารณาเทียบกับผลตอบแทนแล้วเป็นอย่างไรในลักษณะนั้นมากกว่า ที่จะเอามาใช้เพื่อคัดตราสารออกจาก Universe การลงทุน


เรายังคงชอบ ‘ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่’ อย่างต่อเนื่อง จากผลตอบแทนที่ดีกว่า และส่วนชดเชยความเสี่ยง ( Yield Spread) ที่ดีกว่าพันธบัตรสหรัฐค่อนข้างมากประมาณ 3.5%


 
( พงค์ธาริน ทรัพยานนท์ )


“ในขณะที่ตลาดตราสารหนี้รับข่าวการปรับลดดอกเบี้ยของ ‘ธนาคารกลางสหรัฐ (FED)’ ไปแล้วประมาณ 3 – 4 ครั้ง แต่ ‘ASI’ เรามองว่า FED จะลดดอกเบี้ยลงในปีนี้ไม่เกิน 2 ครั้ง เพราะเรามองว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ถึงขั้น ‘วิกฤติ’ แต่ประการใด อย่างไรก็ตามถ้า FED ลดดอกเบี้ยลง ‘มากกว่า 3 ครั้ง’ ในช่วง 6 – 9 เดือนข้างหน้า มีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะ ‘เศรษฐกิจถดถอย (Recession)’ ได้เช่นกัน แต่ปัจจุบันเรายังไม่เห็นสัญญาณเช่นนั้น เพราะถ้าจะเกิดขึ้นถือเป็นเรื่องใหญ่เลยทีเดียว”


นี่คือ ความสำคัญของการบูรณาการเรื่องของ ‘ESG’ มาไว้ในกระบวนการลงทุนที่มีความชัดเจนขึ้น ไม่ใช่เพียงเป็นการลงทุนเพื่อ ‘ผลตอบแทน’ เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อ ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘สังคม’ ในระยะยาวด้วยเช่นกัน