ต้นทุน 5G ไทย สูงแค่ไหนเมื่อเทียบกับโลก

>>

เทคโนโลยีการสื่อสารของไทยกำลังเข้าสู่ยุคที่ 5 ที่จะถูกเรียกว่า 5G ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยที่รุนแรงกว่ายุค 4 G ที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปในรอบใหม่ ทั้งนี้ การจะเข้าสู่ยุค 5G ปัจจัยหนึ่งที่จะชี้ความถูกหรือแพงของการใช้บริการระบบ 5G คือต้นทุนของการค่าคลื่นที่จะให้บริการว่าอยู่ในระดับที่สูงขณะไหน


โดยจากการรวบรวมข้อมูลต้นทุนราคาคลื่น 700 MHz ที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ 5G มากที่สุด โดยต้นทุนของประเทศไทยอยู่ในระดับ 59.5 ล้านบาท ต่อ MHz ต่อปี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ไม่รวมประเทศไทยที่ 32.5 ล้านบาท ทั้งนี้ต้นทุน คลื่น 700 MHz ของไทยนั้นสูงกว่าประเทศเยอรมัน ไต้หวัน และ สวีเดน ซะอีก

 


ภาระลงทุนโครงข่าย
5G สูงกว่า 4G


บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่า ภาระลงทุนเทคโนโลยี 5G ของทั่วโลกชัดเจนมากขึ้นทั้งในเรื่องคลื่นและโครงข่าย โดยในด้านต้นทุนคลื่นความถี่ ปัจจุบันจัดสรรคลื่นไปแล้ว 30 ประเทศ ส่วนใหญ่ทยอยประมูลและมีแผนประมูลเพิ่มเพื่อให้ผู้ประกอบการมีคลื่นปริมาณเกิน 100 MHz ต่อรายมากกว่ายุค 4G ที่ใช้ 25-50 MHz ทั้งนี้ คลื่นที่ประมูล กระจายตัวอยู่ใน 3 ย่านความถี่ คือต่ำ, กลาง และสูง ให้เหมาะสมกับ 5G


จากการรวบรวมของฝ่ายวิจัย พบว่า คลื่น 5G ที่ทั่วโลกใช้ในย่าน ความถี่ทุกประเภทประกอบกัน คลื่นที่ได้รับความนิยม สูงในกลุ่มคลื่นความถี่ตํ่า คือ 700 MHz คลื่นความถี่กลาง คือ 3400 MHz คลื่นความถี่สูง คือ 26 GHz และ หากเทียบราคาประมูลต่อ MHz ต่อ ปี ของ 5G กับคลื่นที่เคยจัดประมูล 4G ในกลุ่มคลื่นความถี่ต่ำส่วนใหญ่ราคาถูกลง ขณะที่คลื่นความถี่กลาง พบว่า โดยเฉลี่ยมีราคาต่อ MHz ต่อ ปี ใกล้เคียงเดิมราคา 4G มากกว่าคลื่นความถี่ต่ำ


แต่ความจำเป็น 5G ต้องใช้ปริมาณคลื่นมากขึ้นกว่า 4G แนวโน้มผู้ประกอบการในต่างประเทศ จึงน่าจะต้องมีภาระต้นทุนคลื่นไม่ตํ่ากว่า 4G แต่ในประเทศไทยน่าจะแตกต่าง เพราะหากเทียบราคาคลื่น 4G ต่างประเทศกับคลื่น 4G ที่ประเทศไทยเคยจัดสรร คือ ย่านความถี่ตํ่า (850, 900 MHz) และย่านความถี่กลาง(1800,2100 และ 2300 MHZ) พบว่า ต่างประเทศมีราคาที่ตํ่ากว่ามาก ขณะที่ท่าที กสทช. ปัจจุบันได้ปรับปรุงราคาคลื่น 5G ให้สอดคล้องกับต่างประเทศ ซึ่งจะกล่าวเพิ่มเติมถัดไป

             
ขณะที่ต้นทุนหลักอีกด้าน คือ งบลงทุนโครงข่าย ทิศทางผู้ให้บริการในประเทศสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ ที่เริ่มเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ตั้ง แต่ปลายปี 2561 แม้พบว่า มีความแตกต่างกันอยู่บ้างในเกาหลีใต้เร่งลงทุนระยะแรกมากกว่า สะท้อนงบลงทุนปี 2562 ของทุกรายที่เพิ่มขึ้น 28.7% ช่วงเดียวกันกับปีก่อน ขณะที่สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น เพียง 7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ หากพิจารณาปริมาณงบลงทุนในช่วงเริ่มต้นลงทุน


เทคโนโลยี 5G เทียบกับ 4G ในปี 2554-55 พบว่า ทิศทางการใช้งบลงทุนไม่น่าจะตํ่าไปกว่าในยุค 4G ประกอบกับความเห็นหน่วยงานเทคโนโลยีจีนที่ประเมินการลงทุน 5G คาดว่าจะต้องมีงบลงทุนสูงกว่า 4G ราว 1.5-2.0 เท่าตัว เมื่อรวมกับต้นทุนคลื่นต่างประเทศที่จะสูงขึ้น คาดว่าการลงทุน 5G ของ ผู้ประกอบการต่างประเทศน่าจะต้องใช้เม็ดเงินที่สูงขึ้น กว่า 4G


 


5G ไทย จะลงทุนต่ำลงจาก 4G ที่มีฐานสูง


ส่วนประเทศไทย เชื่อว่าจะแตกต่างจากในต่างประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของต้นทุนคลื่นความถี่ที่คาดว่าจะลดลงจากยุค 4G ซึ่งทุกรายมีต้นทุนคลื่นรวมกัน 3.6 แสนล้านบาท หากพิจารณาแผนเริ่มจัดสรรคลื่นแรกที่ 700 MHz แลกกับการรับเงื่อนไขขยายระยะเวลาชำระคลื่น 900 MHz เป็น 10 จาก 4 งวด พบว่า กสทช.กำหนด ราคาขนาดคลื่น 700 MHz 10X2 MHz อายุ 15 ปี (นับจาก ต.ค. 63) อยู่ที่ 1.75 หมื่นล้านบาท เท่ากับ ต้นทุน ต่อ MHzต่อ ปี 59.5 ล้านบาท ต่อ MHz ต่อ ปี ลดลงหลายเท่าตัวจากคลื่นความถี่ตํ่าที่เคยจัดสรรกันในยุค 4G และมากกว่าค่าเฉลี่ยในต่างประเทศไม่มาก   


ดังนั้น จึงน่าจะเป็นสัญญาณที่ดีต่อราคาคลื่น 5G ที่ กสทช. ยังมีแผนประมูลคลื่น 5G เพิ่มเติม ทั้ง 2600 MHz ขนาด 195 MHz ที่จะเรียกคืนจาก MCOT และ 26 GHz ขนาด 2000 MHz ที่น่าจะมีทิศทางเดียวกัน ซึ่งด้วยราคาต่อ MHz ต่อปี ที่จะถูกลงจาก 4G แม้ผู้ประกอบการไทยแต่ละรายอาจจะต้องประมูลคลื่นมากขึ้น แต่เชื่อว่าต้นทุนคลื่น 5G น่า จะต่ำกว่าต้นทุนคลื่น 4G ส่วนงบลงทุนโครงข่าย เชื่อว่ามีโอกาสที่จะสูงกว่างบลงทุกราย


ในยุค 4G ที่ราว 3.8 แสนรายไปไม่มาก เนื่องจากงบ 4G ดังกล่าวรวมการลงทุนธุรกิจใหม่อินเตอร์เนตของ ADVANC และการลงทุนของ TRUE ที่ขยายพื้น ที่ให้บริการมือถือหลายแห่งในประเทศที่ไม่เคยมีโครงข่ายมาก่อนในอดีต จากการได้ คลื่น 900 MHz มาใช้งาน ภาพรวมฝ่ายวิจัยจึงประเมินเม็ดเงินลงทุน 5G ไว้ราว 6 แสนล้านบาท ตํ่าลงกว่ายุค 4G (ลงทุนคลื่น+โครงข่ายรวม 7.4 แสนล้านบาท) แต่สูงกว่ายุค 3G (ลงทุนคลื่น+โครงข่ายรวม 3.6 แสนล้านบาท)

 


คาดกำไรปกติกลุ่มปี
2562 เติบโต 22.5%


ฝ่ายวิจัยยังคงประเมินกำไรสุทธิกลุ่มปี 2562 เติบโต 36.4% แต่หากไม่รวมกำไรพิเศษที่รวมในประมาณการ คือ  การขายทรัพย์สินเข้า JASIF เพิ่มเติม กำไรปกติปี 2562 จะเติบโต 21.6% แรงหนุนจะมาจากธุรกิจให้บริการมือถือเป็นหลัก โดยผู้เติบโตเด่น คือ DTAC คาดเติบโต 171% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และ TRUE ที่คาดพลิกจากขาดทุนเป็นกำไร ทั้งนี้ประมาณการ แม้ยังไม่ครอบคลุมถึงการลงทุน 5G ซึ่งอาจจะสร้าง Downside ต่อกำไรระยะกลาง-ยาวของกลุ่ม ให้ได้เกิดขึน้ ได้

 


น้ำหนักการลงทุน เท่าตลาด
...ADVANC เป็น Top Pick


แม้กำไรปกติปี 2562 จะเติบโตสูงกว่ากำไรตลาด แต่เชื่อว่าน่าจะสะท้อนอยู่ในราคาหุ้นแล้ว จากดัชนีกลุ่มจากต้นปีถึงปัจจุบันที่ปรับตัวขึ้น ถึง 12.1% มากกว่าตลาดที่ปรับขึ้น 5.7% ประกอบกับ ความเสี่ยงการลงทุน 5G (ยังไม่รวมในประมาณการ) ที่มาก่อนตลาดจะมีความพร้อม ยังกดดันประสิทธิภาพทำกำไรกลุ่มนับจากนี้ได้ จึงยังให้ลงทุน “เท่าตลาด” ตัวเลือกลงทุน ยังแนะนำ ADVANC ที่มีฐานกำไรสูง รองรับความเสี่ยงต้นทุนจากการลงทุน 5G ได้เหนือรายอื่น และยังมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง หนุนความสามารถสร้างโอกาสพัฒนา Use Case 5G ให้เกิดขึ้นจริงได้ก่อนรายอื่น