ทฤษฎีความน่าจะเป็นกับการหา “ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่”

>> ยิ่งใกล้ถึงวันเลือกตั้ง ก็ยิ่งลุ้นกันมากขึ้นว่าพรรคไหนจะได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด? ใครจะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และใครจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่?

ยิ่งใกล้ถึงวันเลือกตั้ง ก็ยิ่งลุ้นกันมากขึ้นว่าพรรคไหนจะได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด? ใครจะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และใครจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่?

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า “หน้าตาของรัฐบาล 2562” จากการเลือกตั้งรอบนี้ จะไม่ได้มาจากพรรคเดียวกัน! และที่แปลกประหลาดที่สุดคือ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีสิทธิเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย ต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจเฉพาะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เท่านั้น

โดยพรรคที่จะเป็น “แกนนำจัดตั้งรัฐบาล” จะต้องมีเสียงครึ่งหนึ่งของสภา หรือต้องได้รับคะแนนโหวต 350 เสียง จากเสียงส.ส.และส.ว.ทั้งหมด 750 คน

 

แล้วคะแนนเสียงคำนวณกันอย่างไร?

เริ่มจากเสียงของประชาชนที่ไปเลือกตั้งนั่นเอง ทุกคะแนนเสียงที่เราเลือกมีความหมาย! ไม่มีการปัดตก จะนำมานับคะแนนรวมทั้งหมด โดยจะแบ่งการคำนวณออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

  • แบบแรก ส..แบบแบ่งเขต ใช้หลักการคณิตศาสตร์แบบง่ายๆ เลยคือ ใครที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในเขตการเลือกตั้งนั้นๆ ก็เป็นส.ส.เขตเลยทันที
  • แบบที่ 2 ..บัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) ใช้หลักการคำนวณที่ซับซ้อนขึ้นมาหน่อย โดยจะต้องนำตัวเลขที่ได้มาคำนวณ 3 ชั้น เริ่มจาก 

    1.นำจำนวนผู้ใช้สิทธิทั่วประเทศ หารด้วย 500 ซึ่งเป็นจำนวนที่นั่งส.ส.ทั้งหมด จะได้เท่ากับ X
    2.นำ X มาเป็นตัวหารของคะแนนที่พรรคนั้นได้ทั่วประเทศ ก็จะออกมาเป็น จำนวนส.ส.ที่พรรคนั้นควรจะมีได้ สำหรับการเลือกตั้งในครั้งนี้
    3.นำตัวเลขที่ได้จากข้อ 2. ลบด้วยจำนวนส.ส.ที่ได้จากระบบแบ่งเขต ซึ่งถูกกำหนดตายตัวมาแล้วว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 350 เขต  

จะได้สมการ ดังนี้ (350 - ส.ส.ที่แต่ละพรรคควรจะมีได้) ÷ X  โดย X มาจากสัดส่วนผู้แทนส.ส. จากการเลือกของประชาชน

ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้น จะลองคำนวณให้ดู แต่ขอให้เข้าใจว่าตัวเลขที่สมมติขึ้นมานี้ เป็นแค่การทดลองเท่านั้น เริ่มจากจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง (ไม่รวมบัตรเสีย) ตีคร่าวๆ ว่าจะมีคนไทยออกมาใช้สิทธิประมาณ 40 ล้านคน (รวมคนที่เลือกตั้งล่วงหน้า 2 ล้านกว่าคนไปแล้ว)

ต่อมาคือการคำนวณชั้นที่ 2 และ 3 เพื่อลองหาดูว่า แต่ละพรรคจะมีจำนวนส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์เท่าไหร่ ซึ่งในส่วนนี้สำคัญมากทีเดียว ยิ่งมากยิ่งดีต่อการจัดตั้งรัฐบาลของพรรค

สมมติว่าพรรคเพื่อแมว ได้คะแนนเสียง 19 ล้านเสียง (เกินครึ่งของคนที่มาใช้สิทธิ) และนำ 80,000 มาหาร จะทำให้พรรคเพื่อแมวมีตัวเลขส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ดังนี้

 

หลังจากนั้นนำมาคำนวณต่อ โดยผู้เขียนจะสมมติว่าพรรคเพื่อแมวได้จำนวนส.ส.แบ่งเขต 180 เขต ก็จะได้ออกมาเป็นจำนวนส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ซึ่งจะได้ดังนี้


และลองคำนวณเร็วๆ โดยจะใช้พรรคพลังประชาแมว มาเป็นโมเดลในการคำนวณอีกพรรค เพื่อเปรียบเทียบจำนวนส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ซึ่งจะสมมติว่าพรรคพลังประชาแมว จะได้รับคะแนนเสียง 11 ล้านเสียง และได้ส.ส.แบบแบ่งเขต 75 เขต

  

เพราะฉะนั้นด้วยรูปแบบ “การจัดสรรที่นั่งในสภา” ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 จะทำให้พรรคที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด ไม่ได้เป็นพรรคที่มีส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์มากที่สุด อย่างไรก็ตามถ้ามองในแง่ดี ก็จะมีประโยชน์กับพรรคขนาดกลาง-เล็ก เพราะคะแนนเสียงมีความหมาย

เมื่อคำนวณจำนวนส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์แล้ว เท่ากับว่าตอนนี้เรามี “ผู้แทน” ในการเลือกนายกรัฐมนตรีแล้ว มาจากส.ส.จากพรรคต่างๆ รวมกัน 500 ที่นั่ง และส.ว.อีก 250 ที่นั่ง การเฟ้นหา “นายกรัฐมนตรี” จึงเริ่มต้นขึ้นตรงนี้ พรรคใดสามารถรวบรวมคะแนนโหวตจากส.ส.และส.ว.ได้เกินครึ่ง หรือ 376 เสียงขึ้นไป จาก 750 ที่นั่ง พรรคนั้นจะเป็น “แกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล”  

 

ส.ว.มาจากไหนบ้าง

ส.ว.ทั้งหมด 250 ที่นั่ง จะมีที่มาจาก 3 รูปแบบ 1.ส.ว.โดยตำแหน่ง ประกอบด้วย

        1.พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม
        2.พล.อ.พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
        3.พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก
        4.พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชการทหารเรือ
        5.พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผู้บัญชาการทหารอากาศ
        6.พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (สตช.)

2.ส.ว.จากคณะกรรมการสรรหา 194 คน และ 3.จากการคัดเลือกจากกลุ่มอาชีพอีก 50 คน

 

เพราะฉะนั้นคำถามที่ว่าพรรคใดจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุน “บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย จึงเป็นคำถามที่เป็นตัวแปรสำคัญ เพราะมีผลกับการร่วมจัดตั้งรัฐบาลและโหวตนายกรัฐมนตรี! ทั้งนี้ผู้เขียนจะลองจำลองโมเดลการจัดตั้งรัฐบาล โดยอิงสถิติจากการเลือกตั้งย้อนไป 5 ครั้ง นับเฉพาะนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งทั่วไป (ประชาชนเลือก) ไม่รวมมติของสภาฯ
 
 
จากสถิติข้างต้น พรรคที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล แบ่งออก เป็น 3พรรค คือ พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ นอกจากนี้ด้วยความได้เปรียบเรื่องที่มาของส.ว. อีกพรรคที่มีโอกาสสูงที่จะได้คะแนนเยอะ และจัดตั้งรัฐบาลได้คือ พรรคพลังประชารัฐ จากความได้เปรียบเรื่องส.ว. 250 เสียง
 
 

 สมมติฐานที่ 1 : ยังไงก็ “เพื่อไทย”

สมมติฐานที่ 2 : ขอ(จับมือ) ร่วมพรรคเก่าแก่

สมมติฐานที่ 3 : หนุนลุงตู่นะจ๊ะ

สมมติฐานที่ 4 : ไม่เอาลุงตู่ ไม่เอาคสช.

ดังนั้นจากสมมติฐานที่ตั้งขึ้น ความเป็นไปได้ของการจัดตั้งรัฐบาลจึงมาจาก 2 ทางคือ เอาลุงตู่กับไม่เอาลุงตู่ สมมติฐานที่ 3 และสมมติฐานที่ 4 จึงมีความเป็นไปได้มากที่สุด 

 

แล้วใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่?

จริงๆ คนโหวต จะเลือกแคนดิเดตคนไหนก็ได้ แต่ด้วยเซนส์ก็มักจะเลือกพรรคตัวเอง เพราะฉะนั้นคนที่มีความเป็นไปได้ว่าจะได้เป็นนายกมากที่สุด สำหรับสมมติฐานที่ 3 คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 100% ส่วนสมมติฐานที่ 4 ใช้เกณฑ์สถิติในอดีตและจำนวนส.ส.ในสภา ผู้เข้าชิง จะมีดังนี้

  • คุณหญิงสุดารัตน์ (กรณีประชาชนเลือกเพื่อไทยมากที่สุด) การรวมตัวของส.ส.อาจจะเป็นข้ออ้างอิง แม้ว่าเพื่อไทยจะเสียเปรียบเรื่องส.ส.เขตที่ส่งไม่ครบก็ตาม
  • อภิสิทธิ์ (พรรคเก่า ฐานเสียงแน่น และได้เสียงเพิ่มจากการประกาศไม่เข้าร่วมกับบิ๊กตู่)
  • ธนาธร (ฐานเสียงคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เลือกตั้งครั้งแรก 18-26 ปี และคนเบื่อการเมืองแบบเดิมๆ)

เพราะฉะนั้นด้วยสมมติฐาน 2 ข้อของการหานายกรัฐมนตรี ยิ่งใกล้วันเลือกตั้งยิ่งชัดขึ้นเรื่อยๆ เป็นไปได้ 2 กรณีคือ

  • พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จากข้อได้เปรียบเรื่องเสียงส.ว.250 เสียง ขาดเสียงจากส.ส.อีกแค่ 126 เสียง 
  • ไม่ใช่พล.อ.ประยุทธ์ แต่เป็นแคนดิเดตจากพรรคที่ได้เสียงข้างมาก รวมตัวกับกลุ่มส.ส.ที่ไม่สนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ ก็ต้องรวบรวมเสียงส.ส.ให้ได้เกิน 250 เสียง  

 

ตัวแปรจัดตั้ง "รัฐบาลใหม่" ช่วงโค้งสุดท้าย 


อย่างไรก็ตาม "ช่วงโค้งสุดท้าย" ก็มีข้อเสนอใหม่ของม้ามืดมาแรงอย่างธนาธร ที่ออกมาเสนอ "ปิดสวิตซ์ส.ว." โดยเสนอให้รวมเสียงฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ให้ได้ 376 เสียง เพื่อให้รวมคะแนนเสียงได้มากกว่า ฝ่ายสืบทอดอำนาจคสช.และส.ว. รวม 374 (124+250) เสียง 


เพราะฉะนั้นตัวเลขสำคัญตอนนี้คือ ฝ่ายส.ส.ซึ่งเป็นสภาล่าง จะรวมเสียง 376 เสียง?
หรือเสียงของคนสนับสนุนลุงตู่ จะรวมเสียงได้ 374 เสียง ? 

ภายใต้เงื่อนไขที่ทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคต "ยอม" ให้ "อภิสิทธิ์" เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ต้องเคารพเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนเท่านั้น กลายเป็นว่า ณ ปัจจุบัน พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ให้คำตอบ ว่าจะร่วมหรือไม่ร่วมกับฝ่ายนี้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ประกาศชัดเจนว่า "ไม่เอาบิ๊กตู่" 

เพราะฉะนั้นแม้ว่าจะถึงโค้งสุดท้ายเลือกตั้งแล้ว แต่อย่าลืมว่าก็ยังมีเวลาเจรจา ก็ต้องรอวัดใจกันว่า สุดท้ายนักการเมืองจะให้ความสำคัญกับประชาชนตามที่ประกาศจริงๆ หรือไม่        

 

ในมุมมองของนักวิเคราะห์มองอย่างไร

วิวัฒน์ เตชะพูลผล” รองกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ทางเทคนิค บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ จำกัด ประเมินว่าในเดือนมีนาคมและเมษายนตลาดหุ้นไทยจะค่อยๆ ฟื้นตัวและดัชนีจะปรับขึ้นไปแตะที่ระดับ 1,700 จุดได้ในเดือนเมษายน สำหรับ “การเลือกตั้งในประเทศ” ที่จะเริ่มเห็นความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลแล้วว่าจะมีพรรคการเมืองใดบ้างที่ร่วมเป็นพรรคร่วมรัฐบาล

ฝ่ายวิเคราะห์มองว่ากรณีที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด คือ หลังเลือกตั้งแล้วจะได้รัฐบาลผสมที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี

แต่บทสรุปจะเป็นอย่างไร ก็ต้องมารอลุ้นกันในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคมนี้ ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ จะเป็นประวัติศาสตร์อีกครั้ง ก็ต้องรอติดตาม New Chapter

 

ที่มา กลเกมเลือกตั้ง '62 ilaw https://bit.ly/2TkOVsZ 
https://www.facebook.com/Ch3ThailandNews/videos/636756076774522/?hc_location=ufi