กูรูคาด FPI กำไรปีนี้ทะยาน 50% อานิสงส์ลดต้นทุนล็อกราคาวัตถุดิบ-เพิ่มกำลังการผลิต
>>
Hightlight
-
บล.คิงฟอร์ด จำกัด(มหาชน) คาด FPI แนวโน้มไตรมาส 1/62 ฟื้นตัว หลังยอดขายในตะวันออกกลางปรับตัวดีขึ้น และรับรู้รายได้จากการขายชิ้นส่วน OEM ราว 200 ล้านบาทต่อปี
-
เพิ่มกำลังการผลิตและลดต้นทุนวัตถุดิบ รวมถึงปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่า
-
มองยอดขายภูมิภาคตะวันออกกลางฟื้นตัว ประเมินอัตรากำไรขั้นต้นแตะ 20-21% และกำไรปีนี้เติบโต 50% แตะ 188 ล้านบาท จากปีก่อน
-
แนะนำทยอยซื้อหุ้น พร้อมเคาะราคาพื้นฐานหุ้นละ 3 บาท Downside ค่อนข้างต่ำ เป็นโอกาสทยอยซื้อ
บล.คิงฟอร์ด จำกัด(มหาชน) เผยแพร่บทวิเคราะห์ว่า จากการประชุมนักวิเคราะของบริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ FPI ประเมินว่าแนวโน้มผลประกอบการในไตรมาส 1/62 คาดกำไรฟื้นตัวจากงวดเดียวกันปีก่อน ซึ่งการที่ผู้บริหารตั้งเป้ารายได้รวมกลับมาเติบโต 12% มาอยู่ที่ 2,200 ล้านบาท โดยได้แรงหนุนจากยอดขายในภูมิภาคตะวันออกกลางฟื้นตัว โดยเฉพาะลูกค้ารายใหญ่ในประเทศซาอุดิอาระเบียเริ่มกลับมาสั่งซื้อสินค้าหลังจากที่ชะลอตัวในปีก่อนเนื่องจากปรับเพิ่มภาษี VAT 5% การรับรู้รายได้จากการขายชิ้นส่วนงานOEM ราว 200 ล้านบาทต่อปี จากลูกค้าในประเทศ (TOYOTA) และงานส่งออกออสเตรเลีย (MAZDA)
นอกจากนี้ เพื่อลดผลกระทบจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่า บริษัทจึงวางแผนเพิ่มกำลังผลิตและการลดต้นทุนด้วยการล็อกราคาวัตถุดิบล่วงหน้า รวมถึงปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหาร SG&A คาดว่าจะลดลงจากปีก่อนจากการจัดเก็บหนี้ค้างชำระและคุมค่าใช้จ่ายที่ปรึกษาในการทำโครงการต่างๆ ได้ดีเบื้องต้นเราคาดว่าจะช่วยให้อัตรากำรขั้นต้นขยับขึ้นมาที่ระดับ 20-21%
ขณะที่ประเมินส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนเข้ามาราว 18 ล้านบาท เทียบจากปีก่อน 3.5 ล้านบาท หลักๆ มาจาก SAFE ที่มีกำไรจากโรงไฟฟ้าชีวมวลดีขึ้น เนื่องจากต้นทุนเศษไม้เริ่มมีการปรับตัวลดลงในเดือนม.ค.ถึงก.พ. และผลการดำเนินงานในอินเดียดีขึ้น เบื้องต้นประเมินกำไรสุทธิปี 62-63 มีโอกาสฟื้นตัว 50% จากงวดเดียวกันปีก่อนและปี 63 อยู่ที่ 198 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิราว 8-9%
โดยมองว่าแนวโน้มผลประกอบการจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วและน่าจะทยอยดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 1/62 เป็นต้นไป โดยภาพรวมมองธุรกิจการขายชิ้นส่วนยานยนต์ในตลาด After Market ยังคงเติบโตได้ด้วยจำนวนตัวเลขรถยนต์สะสมทั้งโลกที่ขยายตัวราว 5-6% ต่อปี แม้ว่าอนาคตจะมี EV Car มาทดแทนแต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัทเนื่องจากยังมีตลาดรถเก่าในประเทศที่กำลังพัฒนา (ตะวันออกกลาง แอฟริกา เอเชีย ถือเป็นฐานลูกค้าหลักในปัจจุบันของบริษัท) รองรับไปอีกมากกว่า 18 ปี (อิงการประเมินของสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย) รวมถึงสินค้าส่วนใหย่อย่างกันชนหรือชุดแต่งก็เป็นชิ้นส่วนที่มีโอกาสการเปลี่ยนทดแทนกันบ่อยๆ
อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นอาจจะขาย Sentiment บวก เรื่องการเลื่อนนำ SAFE Energy เข้าตลาดออกไป เนื่องจากยังต้องหาโครงการใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเติม ส่วน Valuation หากลองประเมินเบื้องต้นที่ P/E ratio 24.5 เท่า ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยย้อนหลังในอดีต 5 ปี ใกล้เคียงกับอัตราการเติบโตปี 62-63 ราว 25% (โดยมองว่าซื้อขายที่ P/E ratio สูงกว่า กลุ่มยานยนต์ได้เพราะเป็นธุรกิจ Trading) เบื้องต้นได้ราคาเหมาะสมที่ 3 บาท ด้วย Downside ที่ค่อนข้างต่ำมากแล้ว น่าจะเป็นโอกาสในการทยอยซื้อ