อินโดนีเซียเตรียมลงทุนครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์

>>

4 แสนล้านดอลลาร์! อินโดเตรียมลงทุนเมกะโปรเจกต์ ครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ สร้างทุกอย่างในประเทศ


บลูมเบิร์กรายงานว่า ทางการอินโดนีเซียกำลังร่างแผนงบประมาณเงินลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ จำนวนเงินราว 412,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือราว 13 ล้านล้านบาท) ในการก่อสร้างโครงการต่างๆทั่วประเทศ ซึ่งจำนวนนี้รวมถึงการสร้างสนามบินใหม่ 25 แห่ง ไปจนถึงโรงไฟฟ้าอีกหลายแห่ง


การเปิดเผยครั้งนี้มาจาก นาย Bambang Brodjonegoro รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนพัฒนาแห่งชาติ ได้เปิดเผยกับบลูมเบิร์กระบุว่า การลงทุนครั้งนี้จะเป็นใช้เม็ดเงินจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศราว 5,957 ล้านล้านรูเปียห์ ครอบคลุมเวลาระหว่างปี 2020 ถึง 2024 โดย 40% ของเงินจำนวนดังกล่าวจะเป็นการลงทุนของรัฐบาล ขณะที่อีก 25% เป็นการลงทุนผ่านรัฐวิสาหกิจ และส่วนที่เหลือจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน

( ประธานาธิบดี โจโก วิโดโด )

ตามแผนระบุว่าประมาณ 60% ของเงินจำนวน 4 แสนล้านดอลลาร์ จะถูกนำไปลงทุนในโครงการพื้นฐานด้านการขนส่ง


การใช้จ่ายเงินดังกล่าวเป็นหนึ่งในแผนกลยุทธ์ของประธานาธิบดี โจโก วิโดโด ที่ต้องการลงทุนครั้งใหญ่ในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและกระจายความมั่งคั่งออกจากพื้นที่เกาะชวา

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีเกาะมากถึง 17,000 เกาะ กระจายอยู่ทั่วประเทศ หนทางเดียวที่จะทำให้อินโดนีเซียเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่านี้คือการเชื่อมต่อด้านการขนส่ง เราวางแผนจะสร้างทางหลวงใหม่อีกหลายสายเชื่อมพื้นที่ห่างไกลของอินโดเข้าด้วยกัน ไม่เว้นแม้แต่ในภูมิภาคปาปัว นาย Brodjonegoro กล่าว


อย่างไรก็ดี ความเห็นจากนักวิเคราะห์ของ PT Sinarmas Sekuritas มองว่า โครงการอันทะเยอทะยานของรัฐบาลครั้งนี้มันจะเป็นประโยชน์ในอนาคตก็จริง แต่ต้องเฝ้าระวังเรื่องการขาดดุลงบประมาณอยู่พอสมควร

( รถไฟฟ้าสายแรกของอินโดนีเซีย )

ปัจจุบันจีดีพีของอินโดนีเซียขยายตัวอยู่ที่ประมาณ 5% ต่อปี ขณะที่รัฐบาลตั้งเป้าเติบโตที่ 5.3 - 5.6% ในปีถัดไป ซึ่งนั่นน้อยกว่าที่ประธานาธิบดีโจโกวีคาดการณ์ไว้ที่ 7%


เบื้องต้นคาดว่ารัฐบาลจะทุ่มเงินลงทุนประมาณ 350,000 ล้านดอลลาร์ แต่งบอาจเพิ่มสูงถึง 4 แสนล้านดอลลาร์ เท่านี้ก็นับเป็นเงินลงทุนก้อนใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซียแล้ว


แม้ร่างดังกล่าวจะยังไม่เปิดเผยอย่างแน่ชัด และยังต้องรอการอนุมัติจากมติประชุมสภารอบใหม่หลังการเลือกตั้ง แต่คาดว่าในจำนวนราว 4 แสนล้านดอลลาร์นี้จะแบ่งเป็นประมาณ 17% ลงทุนในด้านการคมนาคม ตามด้านด้านพลังงาน และ ประธานาธิบดี โจโก วิโดโด ด้านชลประทาน รวมถึงประเมินว่าการลงทุนครั้งนี้จะเป็นการใช้จ่ายเทียบเท่ากับประมาณ 5.7% ของจีดีพีทั้งประเทศระหว่างปี 2020 - 2024 ขณะที่ในร่างดังกล่าวยังระบุถึงการมองหาแหล่งเงินกู้สำหรับการลงทุนบางในโครงการ



เมืองหลวงแห่งใหม่


แม้ว่าตามรายงานของบลูมเบิร์กจะไม่ได้ระบุถึงรายละเอียดของแผนการย้ายเมืองหลวงใหม่ของรัฐบาล แต่ดูเหมือนว่าท่าทีของรัฐบาลโจโกวีจะเริ่มใส่เกียร์เดินหน้าหาทำเลที่ตั้งของเมืองหลวงใหม่แล้ว เนื่องจากกรุงจาการ์ตาแออัดเกินที่จะแก้ปัญหาแล้ว


อันที่จริงประเด็นการย้ายเมืองหลวงออกจากกรุงจาการ์ต้าเป็นสิ่งที่รัฐบาลอินโดฯหลายยุคหลายสมัยถกเถียงกันมาตลอด มีการเสนอรายชื่อของเมืองหลายเมืองที่อยู่ในลิสต์การพิจารณา


เบื้องต้นรัฐบาลต้องการให้เมืองหลวงแห่งใหม่นี้เป็นศูนย์กลางบริหารราชการ เป็นที่ตั้งของสำนักงานรัฐบาล ซึ่งนักวิเคราะห์ด้านผังเมืองหลายฝ่ายจับตามองไปยังเมือง ปาลังการายา เมืองเอกของจังหวัดกาลีมันตันกลาง บนเกาะบอร์เนียว ซึ่งตั้งอยู่บนศูนย์กลางของประเทศอีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติอย่างแผ่นดินไหวน้อยที่สุด และยังพบว่าผังเมืองถูกออกแบบมาอย่างเป็นระเบียบแถมพร้อมรองรับการพัฒนาในอนาคต


โครงการมูลค่ามหาศาลนี้เป็นไปได้แค่ไหน


แม้การลงทุนนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาวแต่ก็เป็นความท้าทายต่อแผนการใช้งบประมาณอย่างมากจากหลายปัจจัยที่รัฐบาลอินโดฯต้องพิจารณาเป็นพิเศษทั้งการเก็บภาษีของอินโดนีเซียยังคงต่ำและยังจัดเก็บได้น้อยกว่าความเป็นจริง


ในรายงานของบลูมเบิร์กระบุเพียงว่ารัฐบาลจะหาแหล่งเงินทุนจากทั้งเงินของรัฐบาล เงินจากการลงทุนภาครัฐวิสาหกิจ และเป็นเงินลงทุนจากเอกชน แต่เงินก้อนจำนวนมหาศาลขนาดนี้ อินโดนีเซียจะหามาจากไหน เพราะจากข้อมูลระบุว่าอินโดนีเซียมีงบประมาณขาดดุลอยู่ราว -1.7% ต่อจีดีพีในปี 2018


ส่วนการจัดอันดับเครดิตเรตติ้งของอินโดนีเซียโดยสำนัก S&P กำหนดให้อินโดนีเซียอยู่สถานะ BBB- คงที่ เช่นเดียวกับของ Fitch Ratings กำหนดให้อยู่ที่ BBB คงที่เช่นกัน


ข้อมูลจากเว็บไซต์ indonesia-investments.com ระบุว่า อินโดนีเซียยังคงอยูในสถานะขาดดุลการค้าอยู่ที่ราว 5.5 พันล้านดอลลาร์ แต่ตามการคาดการระบุว่าการขาดดุลการค้าของอินโดนีเซียส่อเค้าลดลงจากการที่ความต้องการสินค้าทั่วโลกสูงขึ้น และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ดีอินโดนีเซียยังต้องพบปัญหากับค่าเงินรูเปียห์ที่อ่อนค่าลงตลอดช่วงปีที่ผ่านมา


อีกทั้งที่ผ่านมาหลายโครงการของอินโดนีเซียมักถูกจะระงับหรือเกิดความล่าช้าจากหลายปัจจัยตามมา อันจะสังเกตได้จากโครงการรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศ Jakarta MRT ที่เพิ่งเปิดให้บริการไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทั้งๆที่จาการต้ามีแผนสร้างโครงการรถไฟฟ้าดังกล่าวมาตั้งแต่ยุค 1980 แล้ว