“9 ปัจจัย”...สร้าง ‘เกษียณสมชีวิตา’

>>

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ พุทธศักราช 2564 ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอัตราส่วนถึงร้อยละ 20 ของประชากร ซึ่งจากสภาพที่ปรากฏจะมีผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี คือ ‘มีอิสระภาพทางการเงิน’ ในการใช้จ่ายตามความประสงค์จำนวนไม่มากนัก ส่วนมากยังต้องพึ่งพาลูกหลานและทำงานเพื่อให้มีรายได้ในการดำรงชีพ โดยปัญหาเกิดขึ้นจากการขาดความรู้และทักษะในการวางแผนการเงิน


ถึงอย่างไรก็ตามหากมีความเชื่อ มีจินตภาพถึงการใช้ ‘ชีวิตเกษียณที่มีคุณภาพ’ และลงมือสำรวจและวิเคราะห์ สถานการณ์ในปัจจุบัน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ใน www.assurewealth.co.th ท่านจะเห็นการประมาณการณ์ว่า เราจะสามารถบรรลุเป้าหมาย เกษียณสมชีวิตา’ คือ การรู้จักกำหนดรายได้และรายจ่ายเลี้ยงชีวิตแต่พอดี มิให้ฝืดเคืองหรือฟุ่มเฟือย ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีประหยัดเก็บไว้อันจะส่งผลถึงการใช้ชีวิตในทุกช่วงเวลาตลอดหลังเกษียณอย่างมีความสุขอย่างเหมาะสมพอเพียงได้หรือไม่ โดยมีปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณดังนี้

  1. การลดค่าใช้จ่าย สำหรับ ค่าใช้จ่ายคงที่’ เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถยนต์ ค่าผ่อนสินเชื่อ ค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย ค่าส่วนกลางหมู่บ้าน ค่าประกันสังคม เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ลดได้ยาก


แต่หากเริ่มต้นด้วยการ วางแผนการเงิน” เข้าใจลักษณะของ หนี้ที่ดี’ จะก่อให้เกิดรายได้และความมั่งคั่งในอนาคต ส่วน ‘หนี้ไม่ดี’ มักเกิดจากความอยากเพื่อตอบสนองความต้องการไม่ก่อให้เกิดรายได้ การโอนความเสี่ยงด้วยการ ‘ประภัยภัย’ ก็ทำแต่พอดีไม่มากไป ไม่น้อยไป เพื่อปิดประตูแพ้


ส่วนเงินสะสม ‘กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ’ เป็นส่วนที่ผู้อ่านควรเพิ่มการออมให้มากสุดเท่าที่จะทำได้เพราะเป็นการออมแบบอัตโนมัติ และปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะกับความสามารถในการรับความเสี่ยง ก็สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายคงที่ได้เหมาะสมยิ่งขึ้น


“สำหรับ ค่าใช้จ่ายผันแปร’ เช่นค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบุหรี่ ค่าสุรา ค่าของฟุ่มเฟือย เป็นต้น ซึ่งส่วนที่สามารถที่จะลดได้ง่ายกว่าค่าใช้จ่ายคงที่ แล้วนำค่าใช้จ่ายที่ลดได้มาออมและลงทุน”

  1. การเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อปี ซึ่งเกิดจากการพัฒนาตนเองและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

  2. การควบคุมการเพิ่มรายจ่ายในแต่ละปี โดยคนส่วนมากมีรายได้เพิ่ม รายจ่ายก็เพิ่มตามตัว แต่หากถ้าเราสร้างวินัยทางการเงิน ควบคุมการใช้จ่าย จะทำให้มีการออมและลงทุนมากขึ้น

  3. สร้างแหล่งรายได้ลักษณะบำนาญ เช่น เงินบำนาญข้าราชการ เงินบำนาญจากประกันสังคม เงินปันผลจากการลงทุนในธุรกิจมั่นคง ค่าเช่าจากอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร ประกันบำนาญ โดยต้องพิจารณาถึงกระแสเงินสดรับ (Cash Flow) ที่ประมาณการคาดหมายว่าจะได้รับ และ ความสามารถในการรับความเสี่ยงในระดับที่เหมาะสม สอดคล้องเพื่อการจัดทัพลงทุน



  4. หาความรู้ด้านการลงทุนและคบหากัลยาณมิตรที่จะช่วยชี้แนะความรู้ สร้างความเข้าใจเรื่องการลงทุนและสภาวะการณ์การลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เรารู้และตระหนักถึงความสำคัญของการประมาณการของอัตราผลตอนแทนที่จะได้รับ และ ความสามารถที่จะรับความเสี่ยงในระดับใด และควรจะต้องจัดสัดส่วนสินทรัพย์ในการลงทุน ‘ก่อนเกษียณอายุ’ และ ‘หลังเกษียณอายุ’ อย่างไร ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญและมีกรอบเวลาที่ชัดเจน

  5. แปลงสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เป็นสินทรัพย์ลงทุนที่ก่อให้เกิดรายได้ เช่นการมีบ้านพักอาศัยหลายหลังหากปรับนำไปให้เช่าในบางหลังเพื่อก่อให้เกิดรายได้

  6. ขยายเวลาเกษียณอายุ ในประเทศญี่ปุ่นและโซนยุโรปกำลังให้มีการขยายการเกษียณอายุเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสสร้างรายได้เพื่อใช้ในยามเกษียณ

  7. บริหารความเสี่ยง โดยเราควรดูแลสุขภาพกาย สุขใจให้ห่างจากโรคภัย เข้าใจและลงมือจัดการโอนความเสี่ยงด้วยการประกัน เช่น ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง ประกันทุพพลภาพ ประกันทรัพย์สินและอัคคีภัย ประกันรถยนต์ เป็นต้น หลีกเลี่ยงการค้ำประกัน  ระมัดระวังการละเมิดทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรือเหตุการณ์ต่างๆที่จะทำให้มีผลกระทบกับเงินกองทุนยามเกษียณ

  8. คาดการณ์อายุขัย เพื่อวางแผนให้มีเงินออมอย่างเพียงพอ โดยดูจากประวัติของแต่ละครอบครัว ลักษณะการใช้ชีวิต จะเห็นว่าผู้ใหญ่ที่มีอายุ 80 ปีและยังแข็งแรงอยู่มีเป็นจำนวนมาก มีการจัดงานไว้อาลัยคนที่จากไปอายุเกิน 100 ปี ก็เห็นบ่อยครั้งมากขึ้น ดังนั้นหากมีอายุยืนยาวแต่เงินไม่พอใช้ก็จะลำบากยามแก่อย่างแน่นอน”

ผู้เขียนเชื่อว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถสร้างการเกษียณอายุที่ ‘สมชีวิตา’ ได้อย่างมั่นใจ  และหากปรึกษา ‘นักวางแผนการเงิน CFP®’ จัดทำแผนการเงิน แผนปฏิบัติการณ์ ติดตามและทบทวนแผนตามระยะ ทุกอย่างจะง่ายดายยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน


ติดตามความรู้และ
ข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand  , TFPA Facebook Fanpage และ  www.tfpa.or.th

YOU MIGHT ALSO LIKE