5 คำถามยอดฮิต กับ กองทุนรวม TFFIF

>>

เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว สำหรับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศ (TFFIF) ที่เข้าลงทุนครั้งแรกในสิทธิในการรับส่วนแบ่งรายได้ร้อยละ 45 ของรายได้ค่าผ่านทางรวมสุทธิ ที่จัดเก็บได้จากทางพิเศษฉลองรัชและทางพิเศษบูรพาวิถี ระยะทางรวม 83.2 กิโลเมตร เป็นระยะเวลา 30 ปี โดยมีขนาดกองทุนอยู่ที่ 44,700 ล้านบาท

แม้กระแสตอบรับจากนักลงทุนในการระดมทุนครั้งนี้จะคับคั่ง แต่ก็มีคำถามมากมายที่คั่งค้างใจนักลงทุน Think plus investor จึงถือโอกาสรวม 5 คำถาม ที่ถูกถามบ่อยกับกองทุนรวม TFFIF

 

 
คำตอบ: กองทุนรวม TFFIF เป็นกองทุนปิดที่ไม่รับซื้อหน่วยคืน ซึ่งกองทุนจะไม่มีการกำหนดอายุ ทรัพย์สินที่กองทุนนำเข้าระดมทุนในครั้งนี้ มีอายุการรับรู้ส่วนแบ่งรายได้ 30 ปี หากครบกำหนดแล้ว รายได้ในส่วนดังกล่าวจะหายไปแต่กองทุนยังคงอยู่ แต่ในขณะเดียวกันกองทุนในระหว่างนี้ ทางกองทุนมีแผนเพิ่มทรัพย์สินเข้ากองทุนสม่ำเสมอ จะช่วยสร้างรายได้ให้เติบโตได้มากขึ้นในอนาคต

 
คำตอบ: การคำนวนณที่มาของรายได้ของสินทรัพย์ที่ TFFIF ไปลงทุนนั้น ที่ปรึกษาทางการเงินได้มีการนำปัจจัยการยกเว้นค่าผ่านทางรวมเข้าไปคำนวณไว้แล้ว จึงจะไม่กระทบกับกระแสรายได้ของทางพิเศษแต่อย่างใด นักลงทุนสบายใจได้
 
 
คำตอบ: ในอนาคตหากมีรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ หรือ รถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพ จะไม่กระทบกับการใช้ทางพิเศษ เพราะเป็นลูกค้าคนละกลุ่ม โดยลูกค้าที่ใช้ทางพิเศษ จะเป็นลูกค้าที่เดินทางรูปแบบรถยนต์ส่วนบุคคล จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง หรือ Point to Point เป็นหลัก ขณะที่ผู้เดินทางรถไฟความเร็วสูง หรือรถไฟฟ้าในกรุงเทพ จะเป็นในกลุ่มผู้ใช้การขนส่งสาธารณะ ที่ใช้ระบบขนส่งกลาง ในการเดินทาง ซึ่งจะเข้ามาทดแทนการเดินทางในรูปแบบอื่นๆเช่น รถประจำทาง รถตู้โดยสาร มากกว่า


 
สินทรัพย์ที่เข้ากองทุนโครงสร้างพื้นฐานเข้าลงทุนได้ ตามข้อกำหนดของ ก.ล.ต. มีทั้งสิ้น 10 ประเภท ได้แก่
1. ระบบขนส่งทางราง/ ท่อ
2. ท่าอากาศยาน/ สนามบิน/ ท่าเรือน้ำลึก
3. ถนน/ ทางพิเศษ/ ทางสัมปทาน
4. พลังงานทางเลือก
5. ประปา
6. ระบบบริหารจัดการน้ำ/ ชลประทาน/ ระบบจัดการของเสีย
7. ระบบป้องกันภัยธรรมชาติ รวมถึงระบบเตือนภัน และระบบจัดการเพื่อลดความรุนแรงของภันธรรมชาติที่เกิดขึ้น
8. โทรคมนาคม/ โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
9. ไฟฟ้า
10. กิจการที่มีลักษณะเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลายกิจการประกอบกัน
ซึ่งในอนาคต กองทุนฯจะมีการนำสินทรัพย์เข้าลงทุนเพิ่ม โดยก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (สายกรุงเทพมหานคร – บ้านฉาง) และหมายเลข 9 (สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร) ซึ่งเป็นทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของกรมทางหลวงที่มีการจัดเก็บรายได้จากค่าผ่านทาง เข้าระดมทุนเพิ่ม
 
 
 
คำตอบ: นโยบายการจ่ายเงินปันผล กองทุนมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ในกรณีที่กองทุนมีกำไรสะสมเพียงพอ และโดยรวมแล้วในแต่ละรอบปีบัญชีจะจ่ายในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้ว และได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินปันผล 8 ปีสำหรับนักลงทุนรายย่อยอีกด้วย โดยประมาณการปีแรกกองทุนจะจ่ายผลตอบแทนที่ 4.75% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ดึงดูด น่าสนใจลงทุน