สรุปงบ AOT Q1/2019

>> ภาพรวมทางธุรกิจ กำไรสุทธิ Q1/19 ( ต.ค. - ธ.ค. 18) 6,389 ล้าน เพิ่ม 2.43% รายได้ 1.58 หมื่นล้าน เพิ่ม 5.26%

ภาพรวมทางธุรกิจ

กำไรสุทธิ Q1/19 ( ต.ค. - ธ.ค. 18) 6,389 ล้าน เพิ่ม 2.43% รายได้ 1.58 หมื่นล้าน เพิ่ม 5.26%

รายได้ที่เกี่ยวกับการบินเกือบ 8,525 ล้าน โต 3.37% รายได้ที่ไม่เกี่ยวกับการบินราว 6,871 ล้าน โต 7.94% สัดส่วนรายได้อยู่ที่ 55:45

เที่ยวบินรวม 2.26 แสนเที่ยว เพิ่ม 5.88% เป็นเที่ยวบิน ตปท. มากกว่าในประเทศเล็กน้อย จำนวนผู้โดยสาร 35.6 ล้าน เพิ่ม 2.75% เป็น ตปท. 20 ล้านคน ในประเทศ 15 ล้านคน

การเติบโตส่วนใหญ่มาจากเที่ยวบินและผู้โดยสารระหว่างประเทศ, low-cost ยังขยายตัวต่อเนื่อง, นักท่องเที่ยวอินเดีย-ยุโรปมาชดเชยคนจีนที่หายไปได้บ้าง

อัตราส่วนและตัวเลขทางการเงิน

Q1/19 กระแสเงินสดจากการดำเนินงานเกือบ 4,000 ล้าน ใช้ลงทุนไปกว่า 4,143 ล้าน ใช้หนี้-ดอกเบี้ยอีกกว่า 900 ล้าน สิ้นงวดเหลือเงินสดเกือบ 7,500 ล้าน ลดลงกว่า 1,000 ล้าน

ในจำนวนเงินลงทุน 4,143 ล้าน หลักๆ ใช้กับสุวรรณภูมิ เป็นเงินลงทุนชั่วคราว 2,500 ล้าน ที่เหลือเป็นที่ดิน-อาคาร-อุปกรณ์ ราว 1,700 ล้าน

ROE 4.33% ลดจาก 4.63% YOY , ROA 3.39% , EBIT margin 52.09% ตัวเลขทุกตัวลดลงเล็กน้อย

D/E อยู่ที่ 0.25 ลดจาก 0.30 เท่า อัตราส่วนสภาพคล่อง 4.39% เพิ่มจาก 3.32% เรื่องหนี้ถือว่าดี ไม่มีปัญหา

 

วิเคราะห์และความเห็นของ Club VI

AOT เจอปัญหาจากนักท่องเที่ยวจีนที่หายไป และสะท้อนเข้ามาให้เห็นแล้วในไตรมาสนี้ (Q1/19) แม้รัฐพยายามแก้ไข ไม่ว่าจะเรื่อง visa-on-arrival ฯลฯ แต่ก็ยาก ต้องรอดูว่าจะกระเตื้องเมื่อไร

ตัวเลขทางการเงินเริ่มปรับลดลงเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดี

เฟส 2 สุวรรณภูมิล่าช้าแน่นอน เพราะเพิ่งมีมติยกเลิกแบบ (ของดวงฤทธิ์) ต้องลุ้นให้เปิดทันปี 2021 เพื่อให้รายได้เป็นไปตามแผน ขณะที่การประมูลดิวตี้ฟรี มีมติว่าจะแยกประมูลเป็นส่วนๆ ระหว่างสินค้า, F&B และจุดมอบสินค้า ซึ่งแม้จะล่าช้าแต่ถ้าได้รายได้เพิ่มขึ้นและลดการผูกขาดก็เป็นเรื่องที่ดี

AOT เจอมรสุมหนักรอบด้านจริงๆ ต้องรอลุ้นรัฐบาลใหม่หลักเลือกตั้งว่าจะช่วยกู้การท่องเที่ยวได้หรือไม่อย่างไร

ข้อมูลประกอบจากคำอธิบายผลการดำเนินงาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด