ธนชาตจัดหนัก! จัดโครงการ “ฟรีประเมินหลักประกัน” ช่วยลูกค้าประหยัดเงิน

>>

นายชัชวาลย์  เหลืองอ่อน ผู้อำนวยการอาวุโส ธุรกิจสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดเล็ก ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจของประเทศยังขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกและรอความชัดเจนจากปัจจัยภายในต่างๆ แต่ในแง่คนทำธุรกิจ SME นั้นรอไม่ได้เพราะตลาดมีการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา

ธนชาตได้ศึกษาความต้องการและความจำเป็นของลูกค้า SME มาโดยตลอดเพราะยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) จึงเข้าใจดีว่า การขอสินเชื่อของ SME มีเงื่อนไขหลายประการ ทั้งในแง่คุณสมบัติ ประสบการณ์ ประเภทของธุรกิจ ศักยภาพและผลกำไร ตลอดจนความสามารถในการชำระหนี้

จึงต้องการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการขอสินเชื่อ โดยเปิด โครงการฟรีประเมินหลักประกัน ไม่คิดค่าประเมินหลักประกันที่ลูกค้านำมาประกอบการค้ำประกันสินเชื่อและไม่กำหนดเพดานสูงสุดหรือต่ำสุดของวงเงินค่าประเมินหลักประกัน ไม่ว่าจะประเมินหลักทรัพย์ประเภทใด

 

ธนชาตออกโครงการฟรีประเมินหลักประกัน 

ธนาคารธนชาตเป็นธนาคารเพียงแห่งเดียวขณะนี้ที่มีโครงการฟรีประเมินหลักประกันให้กับลูกค้า SME ไซส์ S โดยไม่ว่าลูกค้าจะยื่นกู้ภายใต้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อตัวใด ไม่ว่าจะเป็น SME ได้ใจ (วงเงินสูงสุด 3 ล้านบาท) SME Biz Smart (วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาท)

หรือ SME บัญชีเดียวสำหรับ SME นิติบุคคลที่ทำบัญชีเพียงเล่มเดียว (ดอกเบี้ยคงที่ 5% ต่อปี 2 ปีแรก วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาท) รวมทั้งผลิตภัณฑ์สินเชื่อธุรกิจ SMEs ตัวอื่นๆ ที่มีหลักประกันเป็นหลักทรัพย์ อาทิ สิ่งปลูกสร้าง บ้านพร้อมที่ดิน ที่ดินเปล่า (รวมถึงที่ดินเพื่อการเกษตร) อาคารชุด ยกเว้นเครื่องจักร สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ทั้งสิ้น

เพียงมีคุณสมบัติผ่านการตรวจสอบเครดิตบูโร (NCB) และเกณฑ์เบื้องต้นของธนาคาร โดยสมัครรับสิทธิพิเศษได้ถึงวันที่ 30 เมษายน 2562 โครงการดังกล่าวนอกจากจะช่วยให้ลูกค้าประหยัดเงินแล้ว ลูกค้ายังจะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษและวงเงินที่เพียงพอกับการดำเนินธุรกิจ

และยังได้รับการประเมินรายได้ที่เป็นธรรมจากพนักงานสินเชื่อที่เข้าใจธุรกิจและข้อจำกัดของลูกค้าแต่ละรายเป็นอย่างดี อีกทั้งพร้อมให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษา (Advisor) ให้กับลูกค้าเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายความสำเร็จเคียงข้างกัน

 

พอร์ตสินเชื่อโตต่อเนื่อง

สำหรับพอร์ตสินเชื่อ SME ของธนาคารธนชาตเติบโตอย่างอย่างต่อเนื่อง มีสัดส่วนของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL Ratio) อยู่ในเกณฑ์ของธนาคารพาณิชย์ โดยอุตสาหกรรมหลักที่ธนาคารปล่อยสินเชื่อ ได้แก่ กลุ่มธุรกิจซื้อมาขายไป ค้าส่ง-ค้าปลีก อาหารและเกษตรแปรรูป ทั้งนี้ธนาคารเพิ่งออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อตัวใหม่ที่รองรับธุรกิจอย่างเฉพาะเจาะจง