นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (24 เม.ย.) ว่าการปรับอัตราค่าโดยสารขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ซึ่งกรมการขนส่งทางบก ขสมก.ได้ชี้แจงรอศาลมีคำสั่ง
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการขนส่งทางบกกลางมีมติเมื่อเดือนมกราคมในการปรับค่าโดยสาร โดยการปรับราคาครั้งล่าสุดที่ปรับไปคือเมื่อปี 2558 เนื่องจากราคาซีเอ็นจีอยู่ที่กิโลกรัมละ 5 บาทและมีการลอยตัวค่าก๊าซ โดย ปตท.ช่วยเรื่องราคาพลังงานโดยรับภาระไว้ 3 บาท
แต่หลังจากนี้ในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ ราคาพลังงานจะเพิ่ม โดยกบง.จะลอยตัวก๊าซเอ็นจีวี ปัจจุบันก๊าซเอ็นจีวีราคาอยู่ที่ 16 บาท แต่เดือนพฤษภาคมจะปรับเป็น 19 บาท ขสมก.ต้องจ่ายราคาเต็ม แต่รถร่วมฯขสมก.จะได้รับการอุดหนุนคันละ 3 หมื่นบาท
นายอาคม กล่าวว่า การปรับอัตราค่าโดยสารไม่ได้พิจารณาปรับตามราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องค่าแรง และการจัดหารถใหม่ และยังยืนยันว่า ขสมก.ไม่ได้ปรับค่าโดยสารแพง เนื่องจากก่อนหน้านี้ในปี 2558 ที่มีติให้รถร้อนขสมก.เก็บอัตราค่าโดยสาร 8 บาทแต่ขสมก.เก็บเพียง 6.50 บาท ซึ่งการเก็บค่าโดยสารเท่ากับอัตราในปี 2558 เพื่อเป็นค่าเชื้อเพลิง ค่าซ่อมบำรุง และค่าแรงขั้นต่ำ ส่วนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะปรับค่าโดยสารเป็นอัตราใหม่แล้ว ซึ่งผู้ถือบัตรอาจจะได้รับผลกระทบเนื่องจากเที่ยววิ่งลดลง อย่างไรก็ตามการปรับราคาครั้งนี้ถือว่าเป็นการปรับไม่เต็มเพดาน โดยอีกระยะจะปรับเมื่อครบปีไปแล้ว
นายอาคมกล่าวต่อว่านอกจากนี้การปรับค่าโดยสารรถเมล์แล้ว ยังมีการปรับค่าโดยสารของรถตู้โดยสารสาธารณะ รถสองแถว เนื่องจากมาตรการบังคับให้รถตู้ฯลดจำนวนที่นั่ง จาก 15 ที่นั่งเหลือ 13 ที่นั่ง และค่าซีเอ็นจี ปรับให้ 1 บาท 20 กิโลเมตรแรกไปไม่เกิน 1.20 บาท ส่วนถ้าหากเจอปรับค่าโดยสารเกินกว่ากำหนดก็สั่งการให้กรมการขนส่งทางบกไปดูแลแล้ว
ทั้งนี้สำหรับรถตู้ที่จะปรับขึ้นนั้น หากระยะทางไม่เกิน 20 กม. กิโลเมตรแรกเพิ่มขึ้นกิโลเมตรละไม่เกิน 1.20 บาท หากเดินทาง 20 กม. ขึ้นไป ปรับขึ้นกม.ละไม่เกิน 0.80 บาท ส่วนค่าโดยสารขั้นต่ำปรับขึ้นมาที่ 15 บาท ส่วนค่าทางด่วน 5 บาทต่อคนและปรับขึ้นเป็น 10 บาท กรณีใช้ทางด่วนมากกว่า 1 ด่าน เช่น รถตู้ขึ้นสามทางด่วน สายมีนบุรี-อนุสาวรีย์ ส่วนด้านรถสองแถวในกทม.นั้นปรับขึ้นเป็นราคาสูงสุดไม่เกิน 11 บาท จากเดิมสูงสุดไม่เกิน 8 บาท