The Conversation วิเคราะห์เศรษฐกิจไทยภายใต้รัฐบาล “ประยุทธ์ 2” กับ อมรเทพ จาวะลา ผอ.อาวุโส สำนักวิจัย CIMB THAI

>>

ช่วงนี้หลายๆ คนตามอัพเดตการบ้านการเมืองอย่างใกล้ชิด อย่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (..) นัดแรกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่เลิกตั้งเกือบเที่ยงคืน .. เชื่อว่าหลายๆ คนก็นอนดึก เพื่อจะรอผลการรับรองนายกรัฐมนตรีคนที่ 30


แล้วเศรษฐกิจไทยหลังได้รัฐบาลใหม่ล่ะ
จะเป็นอย่างไร? เมื่อมีคำถาม Wealthy Thai ก็จะหาคำตอบมาให้ เราได้พูดคุยกับดร.อมรเทพ จาวะลาผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัยธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ถึงประเด็นดังกล่าว


มาเริ่มกันเลย
!

 


Wealthy Thai
: มุมมองเศรษฐกิจรัฐบาลประยุทธ์ 2 และเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลังเป็นอย่างไรบ้าง?


ดร
.อมรเทพ : ภาวะเศรษฐกิจไทยภายใต้รัฐบาลประยุทธ์ 2 มองว่าการฟอร์มทีมรัฐบาลจะสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจตอนนี้ได้ โดยเฉพาะการลงทุนจากภาคเอกชนและการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งภาพการทำงานของรัฐบาลใหม่ จะต่างกับรัฐบาลประยุทธ์ 1 ถามว่าเพราะอะไร? ก็เพราะว่ามีส..จากพรรคการเมืองเข้ามา แม้ว่าจะมีข่าวเรื่องเสถียรภาพของรัฐบาล หรือการยุบสภาเองก็ดี แต่ตัวขับเคลื่อนสำคัญ จะมาจาก 3 ด้าน ประกอบด้วย

  • ภาคเกษตร หรือเก้าอี้รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ในประเด็นเรื่องการประกันรายได้ให้กับเกษตรกร ตามที่พรรคประชาธิปัตย์เสนอ ก็ต้องรอดูว่าจะสานต่อได้มากน้อยแค่ไหน
  • คมนาคม หรือตามที่เป็นข่าวว่าเป็นโควตาพรรคภูมิใจไทย ก็ต้องรอดูเรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ อีกเช่นกัน
  • พาณิชย์ ในด้านราคาสินค้า โดยสิ่งที่น่าติดตามคือ รัฐบาลนี้จะต่อยอดธงฟ้าหรือไม่ เพราะประเด็นสำคัญที่จะต้องประคับประคองเศรษฐกิจไปให้ได้คือการกระจายรายได้

 

ภาพรวมเชื่อว่าเศรษฐกิจในประเทศจะไปของมันได้ ยิ่งเป็นโอกาสที่จะทำให้เราได้พึ่งพิงเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น เศรษฐกิจอาจจะชะลอตัวบ้าง การส่งออก 2562 น่าจะออกมาติดลบ หลังจากติดลบมาหลายเดือน แต่ภาพรวมก็น่าจะโตขึ้น แม้ว่าสำนักวิจัยต่างๆ หรือธนาคารโลก (World Bank) จะออกมาปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจใหม่ (จีดีพี) เหลือแค่ 3.5% ก็ตาม


เมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่
สิ่งสำคัญคือการใช้งบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณที่เป็นรายจ่ายหรือการลงทุน ซึ่งผมเชื่อครับว่าสิ่งเหล่านั้นน่าจะเกิดขึ้นได้ หลังมีการแถลงเรื่องนโยบายเศรษฐกิจต่างๆ


งบประมาณมีประเด็นที่น่าสนใจคือว่า
รอบของงบประมาณจะเริ่มวันที่ 1 ตุลาคมนั้น ต้องผ่านสภาส.. เพื่อถกงบประมาณเหล่านั้น ซึ่งตามข่าวอาจจะไม่ทัน มีการเลื่อนการออกไป ต้องจับดูว่าจะมีผลอย่างไรในไตรมาสที่ 4/2562 ว่างบประมาณที่เหลือนั้นจะถูกนำมาใช้อย่างไร

 


Wealthy Thai
: จากสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน คนให้ความสนใจกับการทำงานของรัฐบาล และติดตามการประชุมสภาฯ มากขึ้น จะมีผลต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง?


ดร
.อมรเทพ : ในแง่การดำเนินงานผมว่าไม่กระทบ ส่วนนโยบายที่น่าจับตามีอะไรบ้าง จากการผสมผสานจากหลายๆ พรรค ถ้าเราดูนโยบายเศรษฐกิจจะเห็นภาพ ยกตัวอย่างเช่น ด้านการประกันรายได้ การก่อสร้าง การดูแลราคาสินค้า การกระจายโอกาสให้ภาคต่างจังหวัด สำหรับร้านค้ารายเล็กรายน้อย ซึ่งโดยสรุปผมมองว่าน่าจะเห็นภาพกำลังซื้อดีขึ้น การกระจายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เป็นภาพนโยบายชุดใหม่


 
( พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา )



Wealthy Thai
: ปัจจัยเสี่ยงมีอะไรบ้าง?


ดร
.อมรเทพ : ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตาให้ดี อาจจะไม่เกี่ยวกับรัฐบาลชุดนี้โดยตรง และเป็นปัจจัยต่างประเทศเป็นหลัก เพราะฉะนั้นความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทย น่าจะมาจากการส่งออกจากประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่ยังดำเนินการอยู่ ซึ่งก็มีทีท่าว่าจะขยายวงกว้างขึ้น


สงครามการค้าตัวนี้แหละครับที่จะกดดันภาคการส่งออก
ทำให้ยังคงติดลบต่อเนื่อง ซึ่งผมประเมินว่าการส่งออกไตรมาสนี้น่าจะติดลบต่อเนื่องไปถึงไตรมาสที่ 3 ด้วยเช่นกัน แต่มีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่ 4


การติดลบในจุดนี้
จากเรื่องสงครามการค้าจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สังเกตได้จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็ว และยังมีแนวโน้มว่าจะแข็งค่าต่อเนื่องในช่วงระยะสั้นๆ


การส่งออกจึงกระทบในหลายๆ
ด้าน ทั้งการจ้างงาน การลงทุน มีปัญหาเป็นลูกโซ่ เพราะปัจจุบันการส่งออกคิดเป็นสัดส่วน 60% ของจีดีพี ดังนั้นจึงหวังว่านโยบายรัฐบาลทั้งการกระจายรายได้ การเร่งการลงทุน เช่น การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับยุโรป เพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) ให้เข้ามาบ้านเรา จะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีได้ ซึ่งก็จะเห็นได้จากการขอสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่ขยับค่อนข้างสูงในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

 


Wealthy Thai
: ความเสี่ยงเรื่องสงครามการค้าที่กระทบเศรษฐกิจไทย ก่อนหน้านี้มันมีประเด็นว่าจีนจะย้ายฐานการลงทุนมาไทยและอาเซียน ส่วนนี้ช่วยได้มากน้อยแค่ไหน 


ดร
.อมรเทพ : โจทย์สำคัญกว่าคือการดึงดูดการลงทุน เพราะปัจจุบันนักลงทุนย้ายไปเวียดนามมากกว่า เพราะฉะนั้นเราต้องสร้างความเชื่อมั่น สร้างสาธารณูปโภค เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อเมื่อนักลงทุนต่างชาติมาลงทุนในไทย ไม่ให้เสียโอกาส

 
( ดร.อมรเทพ จาวะลา )


Wealthy Thai
: มีมุมมองต่อความเชื่อมั่นด้านตลาดเงิน-ตลาดทุนอย่างไรบ้าง ท่ามกลางสถานการณ์ความผันผวนในปัจจุบัน โดยเฉพาะจากปัจจัยต่างประเทศ


ดร
.อมรเทพ : ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะลดดอกเบี้ยเองก็ดี หรือการลดขนาดงบดุลในสหภาพยุโรป (อียู) ทำให้เม็ดเงินไหลเข้ากลุ่มประเทศเกิดใหม่ ทั้งตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้น ซึ่งเราก็ได้เปรียบว่าเป็นประเทศที่บัญชีเดินสะพัดเกินดุล ทั้งนี้เงินเข้าเร็วก็ออกเร็วเช่นกัน สังเกตจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเร็วมาก ก็จะย้อนกลับไปอีกว่าการสร้างความเชื่อมั่นการลงทุนจึงสำคัญมาก

 


Wealthy Thai
: เพราะฉะนั้นในสภาวะเช่นนี้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะต้องเตรียมความพร้อมหรือรับมืออย่างไรบ้าง


ดร
.อมรเทพ : เอสเอ็มอีได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าแน่นอน เพราะการส่งออกติดลบ บาทแข็ง เศรษฐกิจชะลอ เพราะฉะนั้นจึงต้องปรับตัวโดยผมมองใน 2 ประเด็นสำคัญคือ 1.การรับกระแสใหม่ๆ และ 2.การทำอะไรใหม่ๆ จึงจะผ่านไปได้

 


Wealthy Thai
: สุดท้ายอยากให้สรุปผลงาน Masterpiece ของรัฐบาลในปีนี้อีกครั้ง


ดร
.อมรเทพ : ก็อย่างที่กล่าวไป ผมให้น้ำหนักกับการสร้างความเชื่อมั่นการลงทุนมากที่สุด รองลงมาคือการจัดการงบประมาณรายปี และสุดท้ายคือการกระจายรายได้ โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก นอกจากนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ


ส่วนกระแสตื่นตัวทางการเมือง
มองว่าจะเป็นประโยชน์ด้วยซ้ำ เพราะประชาชนจะช่วยตรวจสอบการทำงาน การดำเนินนโยบาย มากกว่าจะทำให้นโยบายสะดุด



รูปประกอบจาก https://www.cimbthai.com/th/personal/news-and-promotions/promotions/news/news14.html