บล.บัวหลวง คาดกำไรแบงก์ไตรมาส 2 แตะ 5.2 หมื่นล้านบาท กรุงศรีฯแชมป์กำไรเติบโตสูงสุด
>>
ใกล้สิ้นสุดไตรมาสที่ 2 แล้ว หลายคนเริ่มให้ความสำคัญกับกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่จะประกาศออกมาในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า นำโดยผลประกอบการธนาคารที่มักจะเป็นกลุ่มแรกที่ประกาศก่อน โดยล่าสุด บล.บัวหลวงได้ทำประมาณการณ์กำไรของกลุ่มธนาคารออกมา พบว่าในไตรมาสที่ 2 กำไรของทั้งกลุ่มอยู่ที่ 5.2 หมื่นล้านบาท ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย จากการสำรองหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลง....
โดย ความเคลื่อนไหวของหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ของไทย พบว่า
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จะมีการเติบโตของกำไรในไตรมาสที่ 2 มากที่สุด คาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 6,718 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.1 %
- ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ KKP มีกำไรสุทธิ 1,650 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.4 % และ
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL มีกำไรสุทธิ 9,550 ล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.9 %
การเติบโตของกลุ่มธนาคารเกิดจากการเติบโตของสินเชื่อและการตั้งสำรองหนี้สูญฯ ลดลง ในทางกลับกันหลายธนาคารมีกำไรปรับลดลง ทั้งธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB, ธนาคารธนชาต หรือ TCAP และ, ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK โดยกำไรรวมของกลุ่มธนาคารที่เราให้คำแนะนำในไตรมาส 2/62 อยู่ที่ 5.21 หมื่นล้านบาท ลดลง 0.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เราประมาณการการตั้งสำรองหนี้สูญฯรวมในไตรมาส 2/62 อยู่ที่ 3.63 หมื่นล้านบาท ลดลง 3.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่สูงขึ้น 2.9% จากช่วงเดียวกันของไตรมาสก่อน ทั้งนี้ โอกาสในการอัพไซด์การประมาณการของเราจากการเติบโตของสินเชื่อที่ดีขึ้น และ/หรือการตั้งสำรองหนี้สูญลดลงกว่าที่เราคาดการณ์ไว้
สินเชื่อธนาคารเดือนพ.ค. เติบโตเล็กน้อย จะฟื้นตัวครึ่งปีหลัง
ขณะเดียวกันรายงานตัวเลขของสินเชื่อรวมสุทธิในเดือนพ.ค. ของกลุ่มธนาคารที่เราให้คำแนะนำปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.8% จากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 10.9 ล้านล้านบาท จากการเติบโตของสินเชื่อของธนาคารส่วนใหญ่
- SCB มีตัวเลขสินเชื่อขยายตัวจากเดือนก่อนมากที่สุด ถึง 1.7 %
- KTB ขยายตัวจากเดือนก่อน 1.6 %
- BBL ขยายตัวจากเดือนก่อน 0.5 % และ
- มีเพียงสินเชื่อสุทธิ ของ TISCO ปรับตัวลดลง 0.5% จากเดือนก่อน
บล.บัวหลวงคาดการณ์แนวโน้มสินเชื่อเติบโตแข็งแกร่งยิ่งขึ้นในช่วงครึ่งหลังปี 2562 เนื่องจากเราคาดว่ารัฐบาลใหม่จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ (เช่น การโอนเงินให้กับผู้ที่มีรายได้น้อยผ่านบัตรประชารัฐ ซึ่งเป็นการกระตุ้นการใช้ จ่ายได้ที่ดีที่สุด) และการขับเคลื่อนด้วยโครงการโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ เพื่อที่ชดเชยการส่งออกที่อ่อนตัวลง (ซึ่งเป็นผลมาจากสงครามการค้าระหว่าง สหรัฐฯ-จีน) ทั้งนี้ KTB, KBANK, SCB, BBL คาดว่าจะเป็นผู้นำการเติบโต ของสินเชื่อในช่วงครึ่งหลังปี 2562
สงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในด้าน ห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นข่าวร้ายสาหรับประเทศไทยในระยะสั้น แต่ฐานการผลิต กาลังย้ายจากจีนมายังประเทศไทย (และเวียดนาม) ซึ่งเป็นผลบวกต่อการ ลงทุน, การส่งออกเติบโต และอุปสงค์สินเชื่อในระยะยาว
SCB , TCAP สุดถูกมีอัพไซด์จากขายสินทรัพย์
มูลค่าหุ้นถูก SCB และ TCAP มีอัพไซด์หากขายบริษัทลูกปีนี้ มูลค่าหุ้นทางบัญชี ของกลุ่มธนาคารที่ให้คำแนะนำ ณ สิ้นปี 2562 อยู่ที่เพียง 1.1 เท่า เท่านั้น เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยระยะยาวอยู่ที่ 1.35 เท่า การคาดการณ์ว่ารัฐบาล จะดำเนินงานอย่างรวดเร็วเพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน (เช่น ใบอนุญาต โทรคมนาคมใหม่) และเดินหน้าโครงการโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ (ระบบ ขนส่งมวลชน, การขยายสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินอื่นๆ ฯลฯ ) เราเชื่อว่า หุ้นธนาคารไทยจะเห็นราคาหุ้นอัพไซด์ 15% ซึ่งคิดเป็น มูลค่าหุ้นทางบัญชี ปี 2562 ที่ 1.30 เท่า (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตเล็กน้อย)