กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี

>>

นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ในวันที่ 26 มิถุนายน 2562


คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี


ในการตัดสินนโยบาย คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่า ที่ประเมินไว้จากการส่งออกสินค้าและบริการเป็นสำคัญ อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อ เสถียรภาพระบบการเงินที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ในระดับปัจจุบันมีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้


เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ โดยการส่งออกสินค้าขยายตัว ชะลอลงกว่าที่ประเมินไว้มากตามเศรษฐกิจคู่ค้าและปริมาณการค้าโลกที่ชะลอลงจากสภาวะการกีดกันทาง การค้าที่รุนแรงขึ้นโดยเฉพาะระหว่างสหรัฐฯ และจีน ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ จากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเป็นหลัก สำหรับด้านอุปสงค์ในประเทศ การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัว ต่อเนื่องแต่ยังได้รับแรงกดดันจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงรายได้และการจ้างงานที่มีสัญญาณ ชะลอลงในภาคการผลิตเพื่อส่งออก การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง


อย่างไรก็ดี การย้ายฐาน การผลิตมายังไทยและโครงการร่วมลงทุนของรัฐและเอกชนในโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยสนับสนุนการลงทุนใน ระยะต่อไป ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากการประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณ รายจ่ายประจ่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่คาดว่าจะล่าช้าและการเลื่อนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจบางแห่ง


ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะติดตามความเสี่ยงด้านต่างประเทศจากสภาวะการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ แนวโน้ม การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนและประเทศอุตสาหกรรมหลักที่จะส่งผลมาสู่อุปสงค์ในประเทศ และความเสี่ยงด้าน ภูมิรัฐศาสตร์ รวมทั้งจะติดตามการดำเนินนโยบายของรัฐบาลใหม่และการใช้จ่ายภาครัฐ ตลอดจนความคืบหน้า ของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ส่าคัญและผลต่อเนื่องไปยังการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งอาจส่งผลต่อแนวโน้ม การขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป


อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีมีแนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ โดยราคาอาหารสด มีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากการประชุมครั้งก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มใกล้เคียงกับที่ประเมิน ไว้เดิม ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อาทิ ผลกระทบจากการขยายตัวของ ธุรกิจ e-commerce การแข่งขันด้านราคาที่สูงขึ้น รวมถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ทำให้ต้นทุนการผลิต ลดลง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ช้ากว่าในอดีต


ภาวะการเงินที่ผ่านมาอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ สภาพคล่อง ในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับต่ำ ภาคเอกชนยังสามารถระดมทุน ได้ต่อเนื่อง โดยสินเชื่อขยายตัวต่อเนื่องทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่ออุปโภคบริโภค ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นค่อนข้างเร็วและแข็งค่านำเงินสกุลภูมิภาคเป็นผลจากเงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลง การไหลเข้าของเงินทุนในช่วงสั้นๆ และปัจจัยในประเทศ คณะกรรมการฯ มีความกังวลต่อการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จึงเห็นควรให้ติดตามสถานการณ์อัตรา แลกเปลี่ยนและการไหลเข้าของเงินทุนอย่างใกล้ชิด


ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงที่อาจสร้างความเปราะบางให้ เสถียรภาพระบบการเงินได้ในอนาคต คณะกรรมการฯ เห็นว่ามาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ได้ ดำเนินการไปและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ผ่านมาช่วยดูแลการสะสมความเปราะบางใน ระบบการเงินจากพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) ในภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ซึ่งอาจ น่าไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร (underpricing of risks) ได้ในระดับหนึ่ง

หมายเหตุ: * ข้อมูลจริง E = ข้อมูลประมาณการ ** ข้อมูลจริงปี 2561 และข้อมูลประมาณการรอบเดือน มิ.ย. 2562 ได้รวมผลเรื่องการปรับปรุงรายได้ภาคการท่องเที่ยวตามหลักดุลการชําระเงินแล้ว


แต่ยังต้องติดตาม การก่อหนี้ของภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ การขยายสินทรัพย์และ ความเชื่อมโยงภายในของสหกรณ์ออมทรัพย์ การปรับตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ภายหลังการปรับปรุง เกณฑ์การก่ากับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) มีผลบังคับใช้ รวมถึงการก่อหนี้ของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ที่อาจประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร ทั้งนี้ การลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินในช่วงต่อไปยังจ่าเป็น ที่จะต้องได้รับการดูแลด้วยเครื่องมือที่หลากหลายทั้งอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เหมาะสม มาตรการกำกับดูแล สถาบันการเงิน (microprudential) และมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน (macroprudential) ที่จะต้องให้ ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับความสามารถในการช่าระหนี้ของลูกหนี้


มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงตามแรงส่งจากอุปสงค์ต่างประเทศเป็นสำคัญ คณะกรรมการฯ จะติดตามพัฒนาการของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพ ระบบการเงิน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะผลกระทบของสภาวะการกีดกันทางการค้าระหว่าง ประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อประกอบการด่าเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมในระยะต่อไป


ที่มา : https://www.bot.or.th