“เศรษฐกิจโลก”… ยังห่างไกล ‘วิกฤต’

>>

ความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในช่วงปลายวงจรเศรษฐกิจขาขึ้น (Late Cycle) นั้น น่าจะเป็นเพียงแค่การที่เศรษฐกิจโลกเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงมากกว่า ที่กำลังจะเข้าสู่เศรษฐกิจถดถอย (Recession) อย่างที่เคยกังวลกันก่อนหน้า

นาวิน อินทรสมบัติ” Chief Investment Officer บลจ.กสิกรไทย จำกัด มองว่า เศรษฐกิจโลกมีการเติบโตที่ชะลอตัวลงแต่ยังคงเติบโตได้ไม่น่ากังวลว่าจะเป็น วิกฤต อย่างน้อยก็ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้านี้ โดยภาพรวมกลุ่ม เศรษฐกิจหลักของโลกมีการเติบโตที่ชะลอตัวลงในปี2019 ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐ’ ,‘ยุโรป’, ‘ญี่ปุ่น และ จีน สภาพคล่องในตลาดโลกก็ปรับตัวลดลงหลังจากมีการลดขนาดงบดุลของสหรัฐลงในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามในปีนี้สหรัฐคงพยายามที่จะไม่ให้การปรับลดงบดุลดังกล่าวส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน ในส่วนของ ธนาคารกลางสหรัฐ (FED)’ การปรับขึ้นดอกเบี้ยคงมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยคาดว่า FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้  ทั้งนี้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อยังสามารถคงตัวอยู่ที่ระดับเป้าหมายของธนาคารกลางได้ที่ประมาณ 2.0% ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐในปี19 คาดว่าจะชะลอตัวมาอยู่ที่ 2.3-2.9% จากปี18 ที่ 2.9% อย่างไรก็ตามคาดว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนสหรัฐยังเติบโตได้ต่อเนื่อง 6-8%

นาวิน อินทรสมบัติ )

การที่ FED ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยจากเดิมที่ตลาดเคยมองว่าจะปรับขึ้นมากกว่านี้ ไม่ได้เป็นผลมาจากเศรษฐกิจสหรัฐไม่ดีแต่ประการใด พื้นฐานเศรษฐกิจสหรัฐยังถือว่าเติบโตได้ในระดับที่ดี แต่ FED ก็คงจะต้องพิจารณาถึงภาพรวมของตลาดด้วย คงไม่อยากทำอะไรที่จะส่งผลกระทบในเชิงลบกับตลาดมากกว่า ซึ่งท่าทีดังกล่าวนี้ก็เป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นด้วยเช่นกัน

ส่วน ยุโรป นั้น ภาพเศรษฐกิจก็ชะลอตัวเช่นกันคาดว่าในปีนี้จะโต 1.6-1.8% จากในปี18 ที่ 1.9% โดยมีการบริโภคภาคเอกชนเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจหลักจากตลาดแรงงานที่ปรับตัวขึ้นดีต่อเนื่อง ในขณะที่ตัวเลข ISM ทั้งของภาคการผลิตและบริการปรับลดลงจากการส่งออกที่ชะลอตัวและปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อ ส่วนอัตราเงินเฟ้อยังต่ำประมาณ 1% ยังห่างไกลจากเป้าหมายที่ 2.0% อย่างไรก็ตามกำไรบริษัทจดทะเบียนในยุโรปยังคาดว่าจะเติบโตได้ 7-8% ทาง ธนาคารกลางยุโรป (ECB)’ ได้หยุดทำ QE ไปแล้วในปี18 และคาดว่าจะเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกได้ในไตรมาสที่4/19 นี้

ด้าน ญี่ปุ่น เองคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตช้าลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวในอัตราชะลอลง อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ยังคงห่างไกลจากเป้าหมายที่ 2% อย่างไรก็ตามกำไรบริษัทจดทะเบียนในญี่ปุ่นยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดย ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ)’ มีแนวโน้มคงนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยจนถึงปี 2020 และอาจผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมได้ในกรณีที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอย

เช่นเดียวกับจีนที่คาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 6% ในปีนี้ แม้การบริโภคในประเทศยังคงเติบโตได้ดี แต่การส่งออกอาจได้รับผลกระทบจากสงครามทางการค้า ทั้งนี้รัฐบาลจีนมักจะตอบโต้สถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างรวดเร็วผ่านมาตรการทางการเงินและการคลังเพื่อประคองการเติบโตจึงไม่น่าเป็นห่วง โดย ธนาคารกลางจีน (PBOC)’ จะยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่ต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ควรจับตาความผันผวนของค่าเงินเอเชียในระยะสั้นจากนโยบายทางการค้าและอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐ  รวมถึงนโยบายทางการเงินของรัฐบาลในเอเชียเพื่อรักษาความสมดุลระหว่างค่าเงินและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน

เศรษฐกิจไทย”…พื้นฐานแข็งแกร่ง

ประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ทาลิส จำกัด มองว่า การที่สินทรัพย์ต่างๆ ปรับตัวลงพร้อมกันในปี18 ที่ผ่านมานั้น ไม่ได้เป็นเพราะ เศรษฐกิจโลก ไม่ดี ตั้งแต่ปี2000 มาเศรษฐกิจโลกโตเฉลี่ยปีละ 3.79% ในปี18 คาดว่าจะโต 3.7% และในปี19 และ 20 คาดว่าจะโต 3.5% และ 3.6% ตามลำดับ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย เช่นเดียวกับ เศรษฐกิจไทย ตั้งแต่ปี2000 มาเศรษฐกิจโตเฉลี่ยปีละ 4% ในปี18-20 ก็คาดว่าจะโตใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยได้ ในปี18 กำไรบริษัทจดทะเบียนก็คาดว่าจะเติบโตได้ประมาณ 6% แต่ ตลาดหุ้นไทย กลับติดลบ ดังนั้นการปรับตัวลงของตลาดหุ้นไทยรวมถึงตลาดหุ้นทั่วโลกในปี18 ที่ผ่านมา จึงไม่ใช่ประเด็นจากปัจจัยพื้นฐาน แต่เป็น ความกังวลต่อผลกระทบของ สงครามการค้า เป็นหลักมากกว่า

เศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่งมาก มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง ยิ่งแนวโน้มการท่องเที่ยวดีนักท่องเที่ยวจีนกลับเข้ามาเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้นก็จะยิ่งทำให้เรามีดุลการค้าที่เกินดุลต่อเนื่อง เมื่อทุนสำรองระหว่างประเทศมีมาก มักจะส่งผลให้ ค่าเงินบาท แข็งค่า แนวโน้มของ Dollar Index ที่มีแนวโน้มอ่อนค่า ก็มักจะส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่า และจากสถิติพบว่าถ้าค่าเงินบาทแข็งค่า ตลาดหุ้นมักมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้น บริษัทคาดว่าค่าเงินบาทไทยยังมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นอีกในปีนี้และปีหน้า

ทั้งนี้ทางบลจ.กสิกรไทยคาดการณ์ว่าในส่วนของนโยบายดอกเบี้ยของไทยเองนั้น จะมีการปรับขึ้นเพียง 1 ครั้งในปีนี้ ล่าสุดผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)” เมื่อวันที่ 6 .. 19 คณะกรรมการฯ มีมติ 4 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ต่อปี โดย 2 เสียงเห็นควรให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25%

ที่มา www.kasikornasset.com, www.talisam.co.th