“กองตราสารหนี้”...หลังถูกเก็บ ‘ภาษี’

>> เวลาผ่านไปไวเหมือนติดปีก หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ไฟเขียวกับ ‘กฎหมายจัดเก็บภาษีเงินได้เกี่ยวกับการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม’ ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง เมื่อ 28 ส.ค. 18 ที่ผ่านมานั้น โดยให้ระยะเวลาก่อนบังคับใช้จริงประมาณ 1 ปี ก็ประมาณกลางปี19 นี้ก็จะมีผลบังคับใช้กันแล้ว

เวลาผ่านไปไวเหมือนติดปีก หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ไฟเขียวกับ กฎหมายจัดเก็บภาษีเงินได้เกี่ยวกับการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง เมื่อ 28 .. 18 ที่ผ่านมานั้น โดยให้ระยะเวลาก่อนบังคับใช้จริงประมาณ 1 ปี ก็ประมาณกลางปี19 นี้ก็จะมีผลบังคับใช้กันแล้ว

นี่คือการเปลี่ยนแปลงในกลุ่ม กองทุนตราสารหนี้ ที่นักลงทุนที่สนใจลงทุนควรจะรู้ แม้ในเชิงผลกระทบกับผู้ลงทุนอาจไม่ได้มีมากนักก็ตาม นอกจากผลตอบแทนที่อาจจะปรับลดลงไปบ้างนิดหน่อย (ถ้ากองทุนยังหาผลตอบแทนได้เท่าเดิมนะ)

แล้วผลกระทบจากกฎหมายใหม่นี้ต่อกลุ่ม กองตราสารหนี้จะเป็นอย่างไร?

 

เก็บภาษีเฉพาะ... ‘ดอกเบี้ยรับ/ส่วนลดจากตราสารหนี้เท่านั้น

ผลของกฎหมายฉบับนี้ จะไปกระทบเหตุต้นทางของผลตอบแทนเป็นสำคัญ นั่นคือ ผลตอบแทนจากการลงทุนใน ตราสารหนี้ นั่นเอง  ซึ่งปกติแล้วผลตอบแทนจะมาจาก 3 ส่วนใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

1.รายได้จากดอกเบี้ยรับ (Coupon)

2.รายได้จากส่วนลด (Discount)

3.รายได้จากกำไรจากการขาย (Capital Gain)


ในอดีตผลตอบแทนที่กองทุนได้รับจากการลงทุนในตราสารหนี้จะถูก
ยกเว้นภาษีไม่ต้องเสียภาษีแต่ประการใด เพราะกองทุนรวมไม่ใช่หน่วยภาษีนั่นเอง จึงสามารถส่งผ่านผลตอบแทนมายังผู้ถือหน่วยลงทุนได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

แต่ภายใต้กฎหมายใหม่นี้กำหนดให้ กองทุนตราสารหนี้ มีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เฉพาะในส่วนของรายได้ประเภทดอกเบี้ย ส่วนลด (Discount) และเงินได้ที่มีลักษณะเดียวกันกับดอกเบี้ย ในอัตรา 15% เป็นสำคัญโดยกำหนดให้ ผู้จ่ายเป็นผู้หักภาษีเงินได้ ที่จ่าย และกองทุนรวมไม่ต้องมีภาระในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้อีก ยกเว้นกรณีที่ได้รับเงินได้ดังกล่าวจากต่างประเทศ

ดังนั้น ผู้ลงทุนใน กองทุนตราสารหนี้ ก็ทำตัวตามปกติ เพราะผลตอบแทนที่จะส่งถึงมือผู้ถือหน่วยลงทุนนั้นเป็น ผลตอบแทนสุทธิเหมือนเดิมไม่ได้แตกต่างอะไรจากในอดีต ซึ่งอาจจะน้อยกว่า เท่าเดิม หรือมากกว่าในอดีตก็ได้เช่นกัน ขึ้นกับสภาวะตลาดตราสารหนี้ในขณะนั้นๆ ตลอดจนฝีไม้ลายมือของผู้จัดการกองทุนประกอบกันด้วย ดังนั้น ฝั่ง ผู้ลงทุน คงไม่ต้องปรับตัวอะไรมากมายนัก

ส่วนฝั่ง กองทุนรวม ที่ลงทุนในตราสารหนี้จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ลดลงจากการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ 15% แต่จะนับเฉพาะตราสารหนี้ที่ ลงทุนใหม่ หลังกฎหมายบังคับใช้ไม่ได้มีผลย้อนหลังกับตราสารหนี้ที่ลงทุนไปก่อนหน้าที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้แต่ประการใด

 

กองทุนไหน”...ได้รับผลกระทบบ้าง

สำหรับกลุ่มกองตราสารหนี้แบบมีอายุ (Term Fund)’ ผลกระทบจะดูง่ายสุด ถ้าเดิมกองทุนตราสารหนี้ 1 ปี ให้ผลตอบแทน 2.0% ต่อปี ถ้าตั้งหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ผลตอบแทนก็จะเหลือ 1.7% (=2% - ภาษี 15%)

ส่วนของ กองตราสารหนี้ทั่วไป ก็ต้องเสียภาษี 15% สำหรับตราสารหนี้ที่ลงทุนใหม่หลังกฎหมายบังคับใช้ กลุ่มกองทุนผสมที่ลงทุนทั้งหุ้นและตราสารหนี้ ในส่วนของตราสารหนี้ต้องเสียภาษี 15% เช่นกัน

 

ภาษีที่ “กองทุนตราสารหนี้” ต้องเสียจากการลงทุนในตราสารหนี้

 

ภาษี (เดิม)

ภาษี (ใหม่)

ดอกเบี้ย (Coupon)

ยกเว้น

หักภาษี 15%

ส่วนลด (Discount)

ยกเว้น

หักภาษี 15%

กำไรจากการขาย (Capital Gain)

ยกเว้น

ยกเว้น

ที่มา : รวบรวมโดย Wealthythai.com

 

 หากมองในส่วนของกองตราสารหนี้ทั่วไปที่เป็น กองทุนเปิด คงต้องไปดูโครงสร้างของผลตอบแทนที่จะมาจากทั้ง 1) ดอกเบี้ยรับ (Coupon) หรือส่วนลด (Discount) และ 2) กำไร/ขาดทุน (Capital Gain/Loss) จากการลงทุน ซึ่งผลกระทบจากกฎหมายใหม่นี้จะกระทบเฉพาะส่วนของดอกเบี้ยและส่วนลดเท่านั้น ซึ่งโดยธรรมชาติของกองทุนตราสารหนี้ที่เป็นกองทุนเปิดนั้น โครงสร้างของผลตอบแทนหลักน่าจะมาจาก กำไร/ขาดทุน เป็นสำคัญ ดังนั้น ผลกระทบจากกฎหมายใหม่นี้กับกองทุนเปิดตราสารหนี้เองก็คงมีจำกัดเช่นเดียวกัน

โดยได้ยกเว้นภาษีให้กับการลงทุนในตราสารหนี้ของกลุ่ม กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)’ , กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)’ และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)’ เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมเพื่อการเกษียณอายุนั่นเอง

ท้ายสุดนักลงทุนเองคงไม่ต้องกังวลอะไรมากนัก เพราะเชื่อว่ากลไกตลาดจะปรับสมดุลได้เอง ฝั่งผู้ออกตราสารหนี้อาจต้องปรับเพิ่มผลตอบแทนให้สูงขึ้น หากดีมานด์การลงทุนจากฝั่งกองทุนหายไป สิ่งสำคัญ คือ การจัดสรรเงินลงทุน (Asset Allocation) ให้เหมาะสมกับเป้าหมายทางการเงินของตัวคุณเองมากกว่า