จับตา... “เทรนด์ความยั่งยืน” ที่น่าสนใจปี2019 (2)

>>

เพื่อตอบสนองต่อความรุนแรงของปัญหา Climate Change ภาครัฐและองค์กรระดับโลกจึงร่วมกัน ผลักดันนโยบายและมาตรการต่างๆ ที่จะช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ระบบขนส่ง ผลิตไฟฟ้า และการก่อสร้าง) ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเอื้อต่อการก้าวไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ การกำหนดนโยบายที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำซึ่งรวมไปถึงการสนับสนุนด้านงบประมาณ การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสีเขียวเพื่อให้ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตลอดทั้งกระบวนการ รวมถึงการสนับสนุนให้มีการเปิดเผยข้อมูล ด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคธุรกิจ จากแรงผลักดันต่างๆ ข้างต้น

ภาคธุรกิจจึงต้องตระหนักถึงทิศทางในการผลักดันไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ จากภาครัฐและองค์กรในระดับโลก เพื่อเตรียมความพร้อมในการปรับกระบวนการทางธุรกิจให้ ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ดังนี้

  • ประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบของปัญหา climate change อย่างรอบด้าน โดยพิจารณาว่าผลกระทบจาก climate change เช่น สภาพที่ตั้งหรือพื้นที่ที่มีการดำเนินกิจกรรมทาง ธุรกิจมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้นหรือไม่ บริษัทอาจมีค่าใช้จ่าย ที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ หากมีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงเป้าหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เป้าหมายการลดการใช้พลังงาน การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งการกำหนดเป้าหมาย ที่ชัดเจนจะทำให้บริษัทสามารถกำหนดทิศทางในการบริหารจัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น
  • ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในกระบวนการ ธุรกิจควรเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำมาใช้ในกระบวนการมากขึ้น เพื่อให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างเป็นรูปธรรม
  • กำหนดราคาคาร์บอนภายในองค์กร (Internal Carbon Pricing) การกำหนดราคาคาร์บอน คือ การกำหนดมูลค่าของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นตัวเงิน (monetary value) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือ สำคัญในการช่วยให้ธุรกิจสามารถประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ climate change ช่วยในการตัดสินใจ ลงทุน และวางแผนในการปรับเปลี่ยนกระบวนการไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำได้อย่างเหมาะสม
  • เปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปัจจุบันแนวคิดการลงทุนอย่างยั่งยืน ซึ่งรวมไปถึง การลงทุนในอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำมีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องการเปิดเผยข้อมูล การปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมทั้งแนวทางการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับเม็ดเงินลงทุน และยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสียอีกด้วย

 

 เทรนด์ 2: พฤติกรรมผู้บริโภค ที่ต้องการใช้งานแต่ไม่เน้นครอบครอง

“เทคโนโลยีดิจิทัล และ Internet of Things (IoT) รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของคน ในสังคมทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคหันไปใช้วิธีการเข้าถึงสินค้าและบริการในรูปแบบการเช่าและการจ่ายเมื่อใช้งาน‘ (pay-per-use) มากขึ้นแทนการจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าบริการนั้นมาครอบครอง เช่น Netflix บริการสตรีมมิงที่ผู้บริโภคสามารถใช้รับชมภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ต่างๆ กลายเป็น ช่องทางที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากกว่าการซื้อแผ่นซีดีหรือดีวีดี หรือสตาร์ทอัพที่ให้บริการเช่า จักรยานเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศจีน สะท้อนถึงความนิยมในการเข้าถึงสินค้า และบริการด้วยรูปแบบการเช่าได้เป็นอย่างดี

โมเดลธุรกิจดังกล่าวเป็นหนึ่งโมเดลธุรกิจที่ช่วยตอบสนองต่อระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ที่มุ่งให้ความสำคัญกับการเลือกใช้วัสดุ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในกระบวนการที่เกี่ยวข้องตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และนำมาสู่การปราศจากของเสียและมลพิษตลอดทั้งกระบวนการของสินค้าและบริการ (อ่านเพิ่มเติม เรื่อง Circular Economy ได้ที่  https://bit.ly/2uLcvoP )

“รูปแบบธุรกิจการเช่าหรือการจ่ายเมื่อใช้งานนี้ช่วยลดภาระผู้ซื้อ ในการดูแลรักษาผลิตภัณฑ์ ช่วยลดการซื้อที่ไม่จำเป็น และทำให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ สูงสุด ปัจจุบันจึงเริ่มมีผู้ผลิตที่พัฒนาโมเดลธุรกิจนี้เพิ่มเติมขึ้นจากธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการตามปกติเพื่อ ตอบโจทย์พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค”

 

เทรนด์การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงเป็นทั้ง ‘ความเสี่ยง’ และ ‘โอกาส’ในการเข้าถึง ผู้บริโภคและสร้างตลาดใหม่ๆ ซึ่งผู้ผลิต ต้องจับตามองและนำมาทบทวนว่าสินค้าและบริการของตนจะได้รับผลกระทบหรือไม่ และ สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดจำหน่าย และการบริการให้ตอบสนองพฤติกรรมของ ผู้บริโภคได้อย่างไรบ้าง