จับตา... “เทรนด์ความยั่งยืน” ที่น่าสนใจปี 2019 (จบ)

>>

เทรนด์ 3: การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้สอดรับกับ เทคโนโลยีและ  ความต้องการในอนาคต


การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีต่างๆ ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมาได้สร้างการเปลี่ยนแปลง ในระบบการผลิต ขณะเดียวกันก็เริ่มสร้างความกังวลต่อตลาดแรงงานและการจ้างงานทั่วโลก ซึ่งจากผล การสำรวจในรายงาน The Future of Job Report 2018 ของ World Economic Forum ระบุว่าภายใน ปี 2022 กว่า 75% ของบริษัทต่างๆ ทั่วโลกมีแนวโน้มจะนำเทคโนโลยี เช่น Big data Analytics, Web-enabled market, Internet of Things (IoT), Cloud computing มาใช้ในกระบวนการธุรกิจเพิ่มมากขึ้น


“การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการ ขณะเดียวกัน แนวโน้มดังกล่าวได้ทำให้เกิดข้อกังวลถึงการเลิกจ้างและการว่างงานปริมาณมหาศาลในกิจกรรมที่สามารถ ใช้เทคโนโลยีเข้ามาทดแทนแรงงานคนได้”


แม้จะมีตำแหน่งงานและกิจกรรมที่จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม กลุ่มบุคลากร ที่มีทักษะในกลุ่มงานที่สอดคล้องกับเทคโนโลยี เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนานวัตกรรม การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน จะเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน มากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับทักษะที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ (human skill) เช่น การให้บริการ ความคิดสร้างสรรรค์ (creative thinking) ภาวะผู้นำ (leadership) มีแนวโน้มที่ยัง คงเป็นที่ต้องการต่อไป

 
การพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะให้แก่ทรัพยากรบุคคลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งทั้งต่อบุคลากรเองและต่อองค์กร พนักงานที่ได้รับการพัฒนาทักษะที่สอดรับกับความต้องการในอนาคตจะมีโอกาส ในการก้าวสู่ตำแหน่งงานที่ได้ใช้ ทักษะสูงขึ้น และได้รับ ค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้น ขณะที่องค์กรก็สามารถสร้าง บุคลากรให้เพียงพอที่จะรองรับการปรับตัวทางธุรกิจและลดความเสี่ยงการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะตามที่ บริษัทต้องการ


ทั้งนี้ องค์กรต้องเริ่มประเมินว่าทักษะประเภทใดที่มีความจำเป็นต่อการเติบโตขององค์กร ปัจจุบัน พนักงานขององค์กรมีทักษะตามที่องค์กรต้องการแล้วหรือไม่ เพื่อให้สามารถวางแผนการพัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรได้อย่างเหมาะสมและทันต่อการเปลี่ยนแปลง


“ขณะเดียวกันองค์กรต้องพิจารณาด้วยว่ากิจกรรม ทางธุรกิจใดที่อาจถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีหรือเครื่องจักรและจะส่งผลกระทบต่อบุคลากรในตำแหน่งใดบ้าง บริษัทควรวางแผนในการโยกย้ายบุคลากรควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะในสายงานใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อม ให้พนักงานสามารถปรับเปลี่ยน career path และมีโอกาสเติบโตในสายงานอื่น”


ภาคธุรกิจจำเป็นต้องตระหนักถึง
เทรนด์ด้านความยั่งยืนเหล่านี้ และปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน เพื่อให้ตอบสนองต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อ ลดความเสี่ยงและ เพิ่มโอกาสให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน

 

ข้อมูลอ้างอิง