“FIF”…กับบทบาทในการสกัด ‘บาทแข็ง’

>>

เรื่อง “ค่าเงิน” ถือเป็นเรื่องที่บริหารจัดการได้ยากระดับโลกเรื่องหนึ่ง เพราะมีสารพัดปัจจัยที่เข้ามากระทบ เรียกว่า หมากปราบเซียนก็คงไม่ผิดนัก อย่าว่าแต่ประเทศเล็กๆ อย่างไทยเลย มหาอำนาจระดับโลกอย่างสหรัฐยังปวดหัวเช่นเดียวกัน จะ ‘แข็งค่า’ หรือ ‘อ่อนค่า’ ก็สร้างปัญหาได้ทั้งนั้น ดังนั้น ‘เสถียรภาพ’ ของค่าเงินจึงเป็นสิ่งที่พึงปรารถนามากกว่า

ช่วงนี้ “เงินบาท” อยู่ในแนวโน้ม แข็งค่า ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก ‘ดอลลาร์อ่อน’ แต่ส่วนหนึ่งมาจากพื้นฐานที่แข็งแกร่งของไทยเองด้วยเช่นกัน “ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT)” ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจและได้เตรียมสารพัดเครื่องมือเอาไว้แก้ไขปัญหามาพอสมควรแล้ว

FIF”…จากทางเลือกในการกระจายความเสี่ยง-สู่กลไกลสกัด ‘บาทแข็ง’

หนึ่งในนั้น คือ การปลดล็อคไขก๊อกให้ ‘เงินทุนเคลื่อนย้าย’ จากไทยออกไปต่างประเทศทำได้สะดวกง่ายดายขึ้น ถ้ามีเงินไทยไหลออกนอกประเทศมากเพียงพอก็จะช่วยสร้างสมดุลระหว่างเงินทุนไหลเข้า-ไหลออกได้ ก็น่าจะช่วยลดแรงกดดันของการแข็งค่าของเงินบาทได้บ้าง

 จะไปต่างประเทศ ก็ ขายบาทซื้อดอลลาร์ สกุลเงินหลักในการแลกเปลี่ยน คนไม่ต้องการบาท...ขายบาท ราคาบาทก็จะตก (อ่อนค่า) โดยหลักการ แน่นอนหากมีขนาดที่มากเพียงพอก็เป็นหนึ่งในช่องทางที่ใช้บริหารจัดการค่าเงินบาทในช่วงบาทแข็งค่าได้เช่นกัน

ช่องทางพาเงินนักลงทุนไทยไปลงทุนต่างประเทศผ่าน “กองทุนรวมที่ไปลงทุนต่างประเทศ (Foreign Investment Fund : FIF)” นั้น เป็นพัฒนาการที่ต่อยอดมาจากความต้องการสนับสนุนให้นักลงทุนไทยมีโอกาสกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในต่างประเทศ ไม่ถูกจำกัดการลงทุนเพียงในประเทศไทยเท่านั้น เป็นการถอดบทเรียนมาจากช่วง “วิกฤติต้มยำกุ้ง” ที่นักลงทุนไทยบาดเจ็บล้มตายกันคาประเทศกันเลยทีเดียว

ย้อนกลับไปในปี2001 ถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าแรกของการออกไปลงทุนต่างประเทศผ่าน “กองทุนFIF” ของนักลงทุนไทย หลังการหารือระหว่าง “สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)” กับ แบงก์ชาติ ในการอนุญาตให้นักลงทุนไทยสามารถไปลงทุนในต่างประเทศได้ ทางแบงก์ชาติจึงได้จัดสรรวงเงินมาให้ในตอนนั้น 100 ล้านดอลลาร์ ให้สำนักงานก.ล.ต.คัดเลือกผู้จัดการกองทุน 5 ราย เข้าโครงการนำร่องพาเงินบาทติดปีกไปลงทุนต่างประเทศในตอนนั้น ซึ่งประกอบด้วย

  • บลจ.วรรณ   
  • บลจ.กสิกรไทย
  • บลจ.เอ็มเอฟซี
  • บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย)
  • บลจ.อยุธยาเจเอฟ

 

“จากปี2002 ที่กองทุน FIF มีขนาดรวมกัน 1,685.54 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.39% ของอุตสาหกรรมกองทุนรวม ปัจจุบัน (ณ ก.พ.19 ) มีขนาดรวมกันทั้งสิ้น 1.13 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 21.79% ของอุตสาหกรรมกองทุนรวม ในช่วง Peak ปี2009 สัดส่วนนี้เคยขึ้นไปสูงถึง 30.27% ก่อนจะปรับตัวลงไปต่ำสุดที่ 15.84% ในปี2011 แล้วจึงค่อยทยอยปรับตัวขึ้นอีกครั้งจวบจนปัจจุบัน”

โอกาสพา “เงินบาท” ติดปีกมี...แต่ไม่ใช่เรื่องง่าย

นับตั้งแต่ที่แบงก์ชาติผ่อนคลายเกณฑ์การนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศในปี2001 เป็นต้นมานั้น ก็มีการขยับปรับเพิ่มวงเงินให้เป็นระยะๆ โดยเหตุผลหนึ่งก็เพื่อเป็น ช่องทาง หนึ่งในการปล่อยให้เงินไหลออกนอกประเทศ แต่ช่องทางนี้ในช่วงที่ผ่านมา แม้ ‘กอง FIF’ จะมีการเติบโตขึ้นตามลำดับ แต่หากหวังผลเชิงนโยบายในการช่วยบรรเทาการแข็งค่าของเงินบาทยังจับต้องเป็นรูปธรรมไม่ได้มากนัก

“ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความรู้ความเข้าใจของผู้ลงทุนเองด้วย โอกาสการลงทุนในต่างประเทศมี ก็ไม่ใช่ว่านักลงทุนทุกคนจะกระจายเงินออกไปลงทุนผ่าน ‘กอง FIF’ ด้วย นั่นทำให้ขนาด ‘กอง FIF’ แต่ละกองเองจึงไม่ใหญ่มาก และปัจจุบันจากเม็ดเงิน ‘กอง FIF’ ที่มีกว่า 1.13 ล้านล้านบาท นั้น ประมาณครึ่งหนึ่งเป็น กองตราสารหนี้แบบมีอายุ (Term Fund)’ ตีเป็นเลขกลมๆ ก็ประมาณ 5 แสนล้านบาท ที่ไปต่างประเทศแบบชั่วคราว 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ครบอายุก็ตีตั๋วกลับไทยมาอีก ในอดีตช่วง กิมจิบอนด์ ดังๆ พอครบอายุพร้อมๆ กัน เงินทะลักไหลกลับไทย ก็ห่วงจะฉุดบาทแข็งเข้าให้อีก”

สัดส่วน "กอง FIF ต่อ AUM" ปี2018 VS 2008

บลจ.
2018
(%)
2008
(%)
บลจ.
แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย)
 67.26%
 71.08%
 แมนูไลฟ์(ประเทศไทย)
ทิสโก้
 37.93%
 61.51%
 บีที
ยูโอบี (ประเทศไทย)
 35.38%
 60.66%
 ทิสโก้
กสิกรไทย
 30.85%
 38.82%
 ฟิลลิป
แอสเซท พลัส
 30.69%
 33.75%
 บัวหลวง
ไทยพาณิชย์
 25.10%
 33.37%
 วรรณ
ทหารไทย
 20.60%
 32.03%
 อยุธยา
กรุงไทย
 19.70%
 29.18%
 แอสเซท พลัส
วรรณ
 19.53%
 28.88%
ไอเอ็นจี(ประเทศไทย)
กรุงศรี
 18.62%
 27.76%
ทหารไทย
บัวหลวง
 13.68%
 25.17%
พรีมาเวสท์
ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล
 11.55%
 24.27%
กสิกรไทย
อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด (ปทท.)
 10.84%
 22.75%
อเบอร์ดีน
แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
 8.36%
 22.39%
ฟินันซ่า
ภัทร
 7.61%
 19.21%
กรุงไทย
ธนชาต
 5.76%
 18.70%
นครหลวงไทย
เอ็มเอฟซี
 3.77%
 14.91%
ธนชาต
ฟิลลิป
 0.63%
 14.58%
ไทยพาณิชย์
 
 
   8.80%
เอ็มเอฟซี
   
 
   6.26%
ยูโอบี(ไทย)
รวม
20.85%
21.71%
รวม

 
ที่มา : www.aimc.or.th ,รวบรวมโดย wealthythai.com
 

ในขณะที่ส่วนที่เป็น กองทุนเปิด อีกครั้งนั้น ก็กระจายกันไปในภูมิภาคหลักๆ หรือในประเทศที่คนไทยคุ้นเคย หรือในธีมการลงทุนที่นักลงทุนไทยพอจะเข้าใจได้ เช่น Healthcare ,Technology หรือทองคำ เป็นต้น ถามว่าโอกาสลงทุนในต่างประเทศมีมากมั้ย?...ตอบเลยว่า มาก เฉพาะหุ้นในสหรัฐก็มีให้เลือกลงทุนสารพัดแล้ว ทั้งขนาดหุ้น สไตล์หุ้น กลยุทธ์การลงทุนในหุ้น ตลอดไปจนถึงการลงทุนที่มีความซับซ้อนสูง เป็นต้น

“แต่ถามว่าตั้ง ‘กอง FIF’ มาไปลงทุนในทุกโอกาสที่มีในต่างประเทศเลยได้มั้ย?...ตอบว่า ได้ แต่จะมีนักลงทุนซื้อหรือไม่...เป็นอีกประเด็นหนึ่ง บางกอง FIF ในอดีต ปัจจุบันก็ต้องปิดกองไปแล้วก็มี เพราะนักลงทุนหดหายขายทิ้งไปหมด เช่น กอง FIF ที่ลงทุนในธุรกิจน้ำ เป็นต้น ดังนั้นการจะขนเงินบาทไปลงทุนต่างประเทศเองจึงไม่ได้ง่าย ในฐานะที่จะเป็นช่องทางหลักซึ่งจะมีผลต่อทิศทางของค่าเงินบาทอย่างมีนัยสำคัญ แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีช่องทางอื่นๆ เอาไว้ให้ใช้เลย

“จึงไม่น่าแปลกใจ ปัจจุบันวงเงินที่แบงก์ชาติให้ทางสำนักงานก.ล.ต.ไว้ประมาณ 75,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับจัดสรรให้กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น ก็ยังใช้กันไม่เต็มวงเงิน แต่ถ้าไม่พอสามารถขอวงเงินเพิ่มได้ ก็ด้วยเหตุที่เงินทุนไหลออกไปแล้ว บางส่วนก็จะไหลกลับเข้ามา นั่นจึงทำให้ภาพรวมสัดส่วนของ ‘กองทุน FIF’ ในไทย จึงไม่ได้เติบโตขึ้นมากแต่จะแกว่งไปแกว่งมาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นั่นเอง”

“บลจ.”...ไหนๆ ก็พานักลงทุนไทยไปลงทุนต่างประเทศได้เหมือนกัน

ในอดีตช่วงเริ่มต้นนั้นการไปลงทุนต่างประเทศอาจจะเป็น เรื่องใหม่” ทั้งสำหรับ นักลงทุนไทย รวมถึง บลจ.ไทย เองด้วย ซึ่งก็เป็นโอกาสสำหรับ บลจ.ต่างประเทศ ที่เข้ามาตีตลาด โดยใช้ความเป็นบลจ.ต่างชาติเป็นจุดขาย มีความเชี่ยวชาญ มีเครือข่ายการลงทุนอยู่ในภูมิภาค หรือในต่างประเทศ สามารถยกหูคุยกับ ‘ผู้จัดการกองทุน’ ได้เลยถ้าต้องการ เพราะส่วนใหญ่ ‘บลจ.ต่างประเทศ’ ที่เข้ามา ก็จะตั้ง ‘กองทุน FIF’ ไปลงทุนในกองทุนหลักของกลุ่มบริษัทเดียวกันนั่นเอง

“ในขณะที่ภาพของ บลจ.ไทย ก็จะถูกมองว่าไม่มีความเชี่ยวชาญจริงๆ ทำตัวเหมือน Fund Supermart ที่ตั้ง ‘กอง FIF’ ใช้ชื่อบลจ.ไทย แต่ไปลงทุนในกองทุนหลักของบลจ.อื่นในต่างประเทศ ทำตัวเป็นแค่คนเลือกโพรดักต์มานำเสนอให้กับผู้ลงทุนเท่านั้นเอง”

แต่เชื่อว่าในปัจจุบัน กอง FIF’ จะมาจาก บลจ.ไทย หรือ บลจ.ต่างประเทศในแง่ของผลงานแล้วไม่ได้ต่างกันในแง่ของตอบแทนที่ส่งมอบให้กับผู้ลงทุนแต่ประการใด ไม่ได้หมายความว่า... ‘กอง FIF’ ของ ‘บลจ.ต่างชาติ’ จะดีกว่าของ ‘บลจ.ไทย’ แต่ประการใด และจุดอ่อนในอดีตที่เคยถูกโจมตีนั้น เชื่อว่าในปัจจุบันก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญแต่ประการใดแล้วด้วย

         

บลจ.ที่มีส่วนแบ่ง "กอง FIF" มากสุด (ณ ม.ค. 19)
บลจ. สินทรัพย์สุทธิ (ล้านบาท) ส่วนแบ่ง (%)
กสิกรไทย 328,220.85 29.46
ไทยพาณิชย์ 261,422.33 23.46
กรุงไทย 132,151.11 11.86
บัวหลวง 106,721.58 9.58
ทหารไทย 825,13.22 7.41

ที่มา : www.aimc.or.th

 

ปัจจุบัน “กองทุน FIF” เองนั้น ไม่เพียงจะเป็นทางเลือกในการ ‘กระจายการลงทุน’ ไปยัง ‘ต่างประเทศ’ เท่านั้น ในอีกมิติหนึ่งก็เป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือเป็นช่องทางในการปล่อย ‘เงินไหลออก’ เพื่อช่วยสร้างสมดุลให้กับเงินทุนเคลื่อนย้ายในการดูแลเสถียรภาพ ‘ค่าเงินบาท’ อีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน เรียกว่า...ลงทุนแล้วยังได้ช่วยชาติในทางอ้อมอีกทางหนึ่งด้วย