“ซื้อ-ขาย” กองทุน...ไม่ยากอย่างที่คิด (จบ)

>> เบสิกในเรื่อง ‘การลงทุน’ ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก เรื่องการ ‘ซื้อ-ขาย’ เป็นสิ่งที่นักลงทุนจำเป็นต้องเรียนรู้ก่อนเป็นอันดับแรก ไม่งั้นรู้ทุกอย่างไปก็ไม่เกิดประโยชน์ ตกม้าตายไปเสียเปล่าๆ ถ้าไม่นำไปสู่กระบวนการลงทุนได้ในท้ายที่สุด ไม่ว่าจะ ‘กองทุนรวม’ ,‘หุ้น’ ,’อนุพันธ์ (Futures ,Option)’ , ‘ตราสารหนี้’ หรือ ‘ทองคำ’ เป็นต้น

เบสิกในเรื่อง การลงทุน ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก เรื่องการ ซื้อ-ขายเป็นสิ่งที่นักลงทุนจำเป็นต้องเรียนรู้ก่อนเป็นอันดับแรก ไม่งั้นรู้ทุกอย่างไปก็ไม่เกิดประโยชน์ ตกม้าตายไปเสียเปล่าๆ ถ้าไม่นำไปสู่กระบวนการลงทุนได้ในท้ายที่สุด ไม่ว่าจะ กองทุนรวม ,‘หุ้น’ ,’อนุพันธ์ (Futures ,Option)’ , ตราสารหนี้หรือ ทองคำ เป็นต้น

ในทางเลือกการลงทุนที่มีอยู่ในท้องตลาดการเงินของไทยในปัจจุบัน จะเห็นว่า ทองคำ ปกติจะรูปพรรณหรือทองคำแท่งก็ตาม นักลงทุนขยับเข้าไปลงทุนง่ายสุด เพราะอะไรใครทราบบ้าง? คำตอบง่ายมาก...เพราะการ ‘ซื้อ-ขาย’ ตรงไปตรงมา...จ่ายเงินซื้อ ได้ของ (ทองคำ) เดี๋ยวนั้นเลย เอาทองไปขาย ก็รับเงินสดมาเห็นกันจะๆ เดี๋ยวนั้นเลยไงครับ

“บุคลิกการลงทุนมันง่ายๆ คล้ายกับ การฝากเงิน เอาเงินฝากปุ๊บ...ยอดขึ้นปั๊บในบัญชี ถอนเงินปุ๊บ...รับเงินสดปั๊บ ทันใจ ทันตาเห็น คล้ายกันแบบที่ตรงกับวัฒนธรรมการออมของคนไทยส่วนใหญ่ในสังคมอยู่แล้วด้วยนั่นเอง แต่ถ้าไปโพรดักต์การเงินตัวอื่น...จะไม่ใช่ล่ะ กลไกการซื้อขายจะไม่ตรงไปตรงมาและมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง”

 

โอนเงินแบงก์เป็น...ก็ “Switching” กองทุนได้

ครั้งที่แล้วเราได้พาไปรู้จักกับกลไกการ ซื้อ-ขาย กองทุนกันไปแล้ว ซึ่งจะพบว่าไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่หลายคนคิด ใกล้เคียงกับการ ฝาก-ถอน เงินกับแบงก์เป็นอย่างมาก ในครั้งนี้จะพามารู้จักชุดคำสั่งอีกตัวที่จะช่วยให้การลงทุนในกองทุนรวมง่ายขึ้นมาก นั่นก็คือ Switching หรือ “การสับเปลี่ยน” กองทุนนั่นเอง ซึ่งใกล้เคียงกับการ โอนเงิน ในฝั่งเงินฝาก

“คนไทยส่วนใหญ่คุ้นชินกับการฝากแบงก์ และธุรกรรมปกติที่ทำกับเงินฝากแบงก์ก็จะมีแค่ 3 ธุรกรรมหลัก ได้แก่ ฝาก’ ,‘ถอน และ โอน ไม่ว่าจะเป็นแบงก์ในอดีตหรือแบงก์ออนไลน์ในปัจจุบันก็ตาม เพียงแต่รูปแบบอาจเปลี่ยนไปบ้างเท่านั้นเอง”

Switching นี้ เทียบเคียงได้กับ การโอนเงิน ในฝั่งของธุรกรรมเงินฝากแบงก์นั่นเอง คุณจะ โอนภายในธนาคาร ในฝั่งกองทุนก็จะมี ‘Switching กองทุนภายในบลจ.เดียวกัน หรือ โอนเงินต่างธนาคาร เทียบเคียงได้กับ ‘Switching กองทุนต่างบลจ. นั่นเอง เห็นมั้ยว่า...ธุรกรรมในฝั่งกองทุนจะใกล้เคียงกับฝั่งเงินฝากแบงก์มากเลยทีเดียว

มาถึงบางอ้อเลยใช่มั้ย?... ถ้าคุณอยากจะโอนเงินที่มีอยู่ใน ‘กองทุน A’ ไปยัง ‘กองทุน B’ คุณก็สามารถทำได้เช่นกันซิแบบนี้ (คิดให้เหมือนโอนเงินแบงก์ก่อนจะได้เข้าใจง่าย)

ถูกต้องแล้วครับบบ...

ทำง่ายๆ ด้วยชุดคำสั่ง Switching” นั่นเอง โดยทำผ่านกลไกการ ซื้อ-ขาย กองทุนรวมปกตินั่นเอง

 

Switching”…ช่วยให้การลงทุน กองทุนรวมง่ายขึ้น

มาดูกลไกการทำงานของคำสั่ง Switching” กันบ้าง อย่าไปคิดให้ยุ่งยากนึกกลับไปที่เงินฝากแบงก์ จะโอนได้คุณก็ต้อง มีเงิน ในบัญชีก่อนเลยอันดับแรก การ Switching กองทุนก็เช่นเดียวกัน คุณต้องมีเงินลงทุนอยู่ใน กองทุนต้นทาง ก่อน

หลังจากนั้นคุณก็ต้องเลือกว่าจะโอนไปแบงก์ไหน ภายในแบงก์เดียวกัน หรือต่างแบงก์ คำสั่ง ‘Switching’ ก็เหมือนกัน คุณต้องเลือกกองทุนปลายทางที่จะโอนเงินไป หรือจะเรียกในภาษากองทุนว่า กองทุนปลายทาง นั่นเอง

“กลไกของแบงก์ก็จะถอนเงินจากบัญชีตั้งต้น แล้วนำไปฝากยังบัญชีปลายทางให้ เช่นเดียวกับฝั่งกองทุน กลไกก็จะสั่ง ขาย (ถอน) กองทุนต้นทางให้ เมื่อรับเงินเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำไป ซื้อ (ฝาก) เข้ากองทุนปลายทางให้ต่อไป ง่ายๆ จบในขั้นตอนเดียวไม่ยุ่งยากเลย”


กรณี
Switching : เป็นชุดคำสั่งที่มีประโยชน์มากอย่างหนึ่ง เมื่อคุณต้องการขายกองทุน A ไปซื้อกองทุน B ก็ส่งคำสั่ง สับเปลี่ยน (Switching)โดยเลือก

กองทุนต้น -> กองทุนที่คุณจะขาย เสร็จแล้วก็ไปเลือก...

กองทุนปลายทาง -> กองทุนที่คุณต้องการซื้อ

ระบบก็จะทำรายการให้เองโดยอัตโนมัติ โดยยังยืนอยู่บนหลักการ ซื้อ-ขาย ปกติของกองทุน

ถ้าส่งคำสั่งในเวลาที่กำหนด รายการก็จะมีผลในวันนั้น แต่ถ้าส่งคำสั่งหลังจากเวลาที่กำหนด รายการก็จะเลื่อนไปมีผลในวันถัดไป แล้วต้องไม่ลืมว่า... กองทุนต้นทาง ที่คุณขายออกนั้น จะได้รับเงินวันไหนด้วย เพราะต้องได้รับเงินจากการขายกองทุนต้นทางก่อน จึงจะนำไปซื้อ กองทุนปลายทาง ได้ (ตรงนี้สำคัญมาก...อย่าลละเลยทีเดียว)

บางคนไม่เข้าใจ สั่งขายกองหุ้น X วันนี้ เพื่อจะไปเข้าซื้อกองหุ้น Y ที่กำลังปรับตัวลง แนวคิดมาถูกทางหมด ขายกองที่มีกำไร ไปช้อนกองที่กำลังปรับตัวลง สเต๊บเทพเห็นๆ...แต่ลืมไปว่า กองที่ขายรอเงิน T+5 จังหวะที่เงินจะเข้าปรากฎกองหุ้น Y ดีดกลับไปเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ได้ซื้อในจังหวะราคาที่ตัวผู้ลงทุนตั้งใจไว้...กรณีนี้เช่นนี้มีเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ แม้กับผู้ที่ลงทุนผ่านกองทุนรวมอยู่แล้วก็ตาม

“แนวคิดการเข้าช้อนซื้อที่พอใช้ได้ คือ พักเงินใน กองตราสารตลาดเงิน’ ที่ขายแล้วได้เงินวันถัดไป (T+1) ใช้เป็น กองทุนต้นทาง เพื่อไปเข้าซื้อกลุ่มกองทุนสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ ที่เป็น ‘กองทุนปลายทาง’ จะได้จังหวะที่ใกล้เคียงกับที่ตั้งใจไว้ แต่ถ้าจะ Switching จับจังหวะจาก ‘กองทุนต้นทาง’ ที่ขายแล้วได้เงินช้า (T+3) หรือ (T+5) เพื่อเข้าลงทุนในอีกกองทุน อาจทำให้จังหวะการเข้าลงทุนไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ได้ หากตลาดมีการดีดกลับจนกองทุนปลายทางปรับตัวสูงขึ้นไปอีกครั้ง แต่ถ้าลงต่อก็คงไม่เป็นไร แต่ไม่มีใครรู้อนาคต และนั่นก็ทำให้เป็น ความเสี่ยง กับจังหวะลงทุนโดยไม่จำเป็นไปนั่นเอง”

มาถึงจุดนี้ เชื่อว่านักลงทุนที่สนใจจะลงทุนผ่าน “กองทุนรวม” คงจะเห็นภาพและเข้าใจกลไกการทำงานในการ ซื้อ-ขาย และ ‘Switching’ ในฝั่งกองทุนมากขึ้น ซึ่งไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลย ไม่ต่างกับ ฝาก-ถอน-โอนในฝั่งเงินฝากแบงก์แต่ประการใด ที่เหลือก็เพียงแค่ตัดสินใจเขามาลงทุนผ่านกองทุนรวมดูเท่านั้นเอง