“เคล็บลับ”...ปรับองค์กรรับ ‘Accelerating Technologies’

>>

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนา เรื่อง “How to Transform Your Business to Become an Exponential Company in a Digital Era” เมื่อเดือนมี.ค.19 ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยเชิญSalim Ismail’ นักคิด นักกลยุทธ์ และนักพูดชื่อดังระดับโลกผู้เป็นกูรูด้าน Exponential Transformation ที่ได้รับการยอมรับในแวดวงธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นเจ้าของผลงานหนังสือขายดี Exponential Organizations มาให้มุมมองเรื่องการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจ ให้สามารถปรับตัวและแข่งขันได้ในยุคดิจิทัล รวมถึงแนวคิดเรื่องการปลูกฝังวัฒนธรรมที่ส่งเสริมความคิด สร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรมที่ไม่หยุดนิ่ง ซึ่งจะมีส่วนสร้างความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในประเทศไทยในระยะยาว


Ismail เชื่อว่า Accelerating Technologies จะทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ซึ่งเทคโนโลยี เหล่านี้ เช่น Artificial Intelligence (AI), Robotics, Biotech ล้วนเป็นเทคโนโลยีที่มีพัฒนาการในการเพิ่มขีดความสามารถ ได้แบบทวีคูณ อย่างที่ กฎของมัวร์ (Moore’s Law) ได้บอกว่า จำนวนทรานซิสเตอร์ (transistor) ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของ ชิปประมวลผลในแผงวงจรจะมีการเพิ่มจำนวนขึ้นได้ทุกๆ 2 ปี


ในช่วงเริ่มต้น การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเหล่านี้อาจเป็นไปอย่างช้าๆ แต่พอถึงจุดหนึ่งก็จะสามารถ เปลี่ยนแปลงแบบพุ่งทะยาน ดังตัวอย่างเช่น โดรน (drone) ที่ในอดีตไม่สามารถบรรทุกน้ำหนักได้มาก แต่ปัจจุบันสามารถบรรทุกน้ำหนัก 600 กิโลกรัมได้ไกลถึง 10 กิโลเมตร หรือตัวอย่างของการลดลงของต้นทุนการผลิตแสงสว่างและพลังงานแสงอาทิตย์ รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากโฆษณาสื่อออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งเมื่อการ เปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้น ย่อมทำให้ธุรกิจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็น ค่อยไปเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

  1. Digitize ยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการทำธุรกิจทุกวันนี้โลกกำลังขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้นผ่าน Internet of Things (IOT) ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันได้ถึง 1 ล้านล้านชิ้นในปี 2030 และจะเกิดประโยชน์ทางธุรกิจ อย่างมาก เช่น บริษัทสตาร์ทอัพในประเทศอิสราเอลสามารถวิเคราะห์อารมณ์ของผู้พูดได้อย่างแม่นยำถึง 85% จากการใช้คลิปเสียงที่มีความยาวเพียง 10 วินาที
  2. Disrupt เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยน รูปแบบการทำธุรกิจก็เปลี่ยน ในอดีตกล้องถ่ายรูปใช้ฟิล์มในการถ่ายภาพ ทำให้ต้องถ่ายภาพด้วยความระมัดระวังเนื่องจากฟิล์ม มีความจุจำกัด ดังนั้น หลักสูตรสอนถ่ายภาพจึงมีความจำเป็น แต่เมื่อมีกล้องดิจิทัลเข้ามา ความจุไม่ใช่ ปัญหาอีกต่อไป หลักสูตรสอนถ่ายภาพจึงไม่มีความจำเป็นแล้ว แต่ปัญหากลายเป็นว่าทำอย่างไร ให้สามารถค้นหาและจัดการกับรูปถ่ายที่มีจำนวนมากในอุปกรณ์ต่างๆ แทน


“หรือจากการที่ต้นทุน ของพลังงานแสงอาทิตย์ถูกลงมาก ปัญหาจึงไม่ใช่เรื่องการผลิต แต่เป็นการจัดเก็บพลังงานแทน เหล่านี้ เป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนจากความขาดแคลน (scarcity) เป็นความเหลือเฟือ (abundance) ซึ่งทำให้ ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย (marginal cost) กลายเป็นศูนย์ เราเรียกจุดพลิกผันเหล่านี้ว่า Gutenberg Moment (ตามชื่อผู้คิดค้นแท่นพิมพ์เครื่องแรกของโลก) ซึ่งจะเกิดมากขึ้นและบ่อยขึ้นในโลกปัจจุบัน”

  1. Demonetize เมื่อต้นทุนถูกลง มีคู่แข่งมา Disrupt มากขึ้น รายได้ก็ลดลง ที่ผ่านมาบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สนใจรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติหรือรถยนต์ไร้คนขับ (Self-driving Car) เนื่องจากต้นทุนเทคโนโลยีสูงเป็นแสนเหรียญต่อคัน ขายอย่างไรก็ไม่คุ้ม แต่เมื่อต้นทุนเทคโนโลยี ลดลงแบบ Exponential เหลือแค่หลักพันต่อคัน ทำให้บริษัทต้องกลับมาพัฒนาเทคโนโลยีนี้ แต่ยัง ตามหลัง Google หรือ Uber ซึ่งได้ลงทุนวิจัยเรื่องนี้มานานแล้ว


“หรือตัวอย่างของธุรกิจล้างรถในบัวโนสไอเรส (Buenos Aires) เมืองท่าของประเทศอาร์เจนตินา ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจดีและประชาชนมีรถเป็นของตัวเองมากขึ้น แต่รายได้กลับลดลง ต้นเหตุที่แท้จริง กลับเป็นเพราะมีเทคโนโลยีในการพยากรณ์อากาศที่ดีขึ้น ทำให้ผลพยากรณ์อากาศมีความแม่นยำว่าวันใดฝนจะตกหรือไม่ตก คนจึงมาล้างรถน้อยลง”

ตัวอย่างเรื่องผู้ผลิตรถยนต์แสดงถึงการคิดแบบ Linear กับแบบ Exponential หากเราไม่คิดแบบ Exponential เราก็อาจพลาดโอกาสในอนาคตได้ ส่วนตัวอย่างหลังแสดงให้เห็นว่า Disruption เกิดขึ้นได้ทุกที่ จึงควรตระหนัก และให้คิดไว้เสมอเลยว่าเราสามารถถูก Disrupt ได้เสมอ

 

  1. Democratize เมื่อต้นทุนทุกอย่างลดลง ก็ทำให้โลกเปิดกว้างมากขึ้น หลังเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศอินโดนีเซีย ชาวประมงมีรายได้มากขึ้นถึง 30% จากการใช้ SMS ในการส่งข่าวราคารับซื้อปลาที่ท่าเรือให้กันช่วยให้ชาวประมงตัดสินใจซื้อขายได้ การที่ชาวประมงใช้ ประโยชน์จากเทคโนโลยีทำให้โอกาสเปิดกว้างขึ้น การเปิดกว้างนี้ทำให้ใครก็ได้ที่มีไอเดียสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้กับธุรกิจเดิมๆ แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ทำนองเดียวกับ Elon Musk ที่ไม่ได้ คิดค้นอะไรใหม่ แต่กลยุทธ์ของเขาคือหาเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด และสร้างบริษัทขึ้นมาเพื่อจะได้ทัน ใช้ประโยชน์จากการเติบโตใน 10 ปีข้างหน้า