“Inverted Yield Curve”…ใช่จะมี ‘วิกฤติ’ เสมอไป

>>

ปัจจัยเสี่ยงที่รุมเร้าเศรษฐกิจโลกดูจะทำให้นักลงทุนพากันมองภาพอนาคตไม่สดใสเท่าไรนัก


แม้ตัวเลขคาดการณ์เติบโตทางเศรษฐกิจจาก ‘กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)’ จะยังมองเศรษฐกิจโลกโตได้ 3.3% ในปีนี้ และ 3.6% ในปีหน้าก็ตาม


แต่เมื่อมีสัญญาณ Inverted Yield Curve : IYCเกิดขึ้นในตลาดสหรัฐ เมื่อผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี (2.12%) ต่ำกว่า 3 เดือน (2.28%) (ตัวที่จับตาดูกัน คือ 2 ปี) แต่ก็เพียงพอที่จะเขย่าขวัญนักลงทุนทั่วโลก


ขนาดเศรษฐกิจสหรัฐที่เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งคนก็ยังไม่เชื่อว่าจะแกร่งจริง นี่ก็จับตาดูทิศทางนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (FED)’ ที่จะประชุมกันช่วง 18-19 มิ.ย. กันแล้วว่าจะส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยหรือไม่?


แต่ข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจจาก ‘Invesco’ คือ ไม่ใช่ทุกครั้งที่เกิด ‘IYC’ จะตามมาด้วย วิกฤติ เสมอไป



2-10 Spreadสัญญาณคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ


“สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (
ThaiBMA) ระบุว่า หนึ่งในดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจก็คือ ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนระหว่างพันธบัตรรัฐบาลอายุยาวกับอายุสั้น โดยรุ่นอายุของพันธบัตรที่นักลงทุนมักใช้ในการเปรียบเทียบกันทั่วไปคือ รุ่น 10 ปี และ 2 ปี ส่วนต่างนี้เรียกว่า ‘2-10 spread’


“โดยปกติ Bond yield ระยะยาวย่อม สูงกว่า Bond yield ระยะสั้นเพื่อ ชดเชยความเสี่ยง จากการลงทุนในระยะเวลาที่ยาวกว่า และสะท้อนถึง เงินเฟ้อ ในอนาคตด้วย อย่างไรก็ตาม หากนักลงทุนมีมุมมองที่เป็นลบต่อภาวะเศรษฐกิจ เช่น คาดว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ นักลงทุนจำนวนมากก็จะหันไปซื้อ Bond ระยะยาวเพื่อล็อคผลตอบแทนจากการลงทุนเอาไว้ ทำให้ Bond Yield ระยะยาวปรับตัวลดลง”

ส่วน Bond Yield ระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจาก Demand ของ Bond ระยะสั้นน้อยลงและนักลงทุนบางส่วนอาจขาย Bond ระยะสั้นเพราะกังวลกับภาวะเศรษฐกิจอันใกล้และหันไปถือ Bond ระยะยาวแทน ส่งผลให้ ‘2-10 Spread’ มีค่าต่ำลง เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield Curve) จึงแบนราบ (Flat) ลง และหาก Yield Curve แบนราบลงเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงจุดที่ Bond Yield ระยะสั้นสูงกว่าระยะยาว จะทำให้เส้น Yield Curve กลายเป็นเส้นลาดลง และ 2–10 Spread มีค่า ติดลบ ที่ได้ยินกันคุ้นหูว่า Inverted Yield Curve (IYC) นั่นเอง


“ในอดีตเคยเกิดภาวะ Inverted Yield Curve มาแล้วที่สหรัฐเมื่อปี 2006 หลังจากนั้นอีกเกือบ 2 ปี เศรษฐกิจสหรัฐก็เข้าสู่ ภาวะถดถอย (Recession)’ ในปี 2008 อย่างไรก็ตาม IYC ไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิด Recession แต่เป็นเพียงสัญญาณหนึ่งที่บอกว่า นักลงทุนเริ่มมีมุมมองเชิงลบต่อภาวะเศรษฐกิจในอนาคตและอาจมีโอกาสที่จะเกิด Recession ขึ้นได้เท่านั้นเอง ดังนั้น ‘2-10 Spread’ จึงถือเป็นข้อมูลอีกหนึ่งอย่างที่นักลงทุนสามารถนำมาใช้ประเมินและคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจและโอกาสของการเกิด Recession ในอนาคตได้เช่นกัน”


 


ไม่ใช่ทุกครั้งที่เกิด '
IYC'…จะตามมาด้วย วิกฤติเสมอไป


ปัจจุบัน ‘Yield Spread’ ในบางช่วงอายุติดลบไปแล้ว เช่น 3 เดือน-10 ปี ในขณะที่ ‘2-10 Spread’ แคบลง ซึ่งน่าจะมาจากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มชะลอตัว ,Trade War ระหว่างสหรัฐกับจีน รวมไปถึงผลจากการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในช่วงที่ผ่านมา เป็นต้น

“Ken Lin” Senior Manager-Institutional Sale Invesco ยอมรับว่า หลังจากมีสัญญาณของ Inverted Yield Curve (IYC) เกิดขึ้นในบางช่วงอายุก็ทำให้ตลาดมองไปถึงเรื่อง Recession ที่จะตามมา บ้างก็มองว่าจะเกิดขึ้น 2 ปีจากนี้ บ้างก็ว่า 1 ปีจากนี้ เพราะหุ้นสหรัฐก็วิ่งมาไกลพอสมควรแล้ว อย่างไรก็ตามมีสถิติที่น่าสนใจที่จะมาแบ่งปันกัน ตั้งแต่ปี1950 มา มี Recession เกิดขึ้นทั้งหมด 8 ครั้ง โดยเฉลี่ยก่อนมี Recession จะมี IYC เกิดขึ้นและหลังจากนั้นเฉลี่ยประมาณ 13 เดือน จะเกิด Recession ตามมา


“อย่างไรก็ตามในปี1966 ก็มีสัญญาณ IYC เกิดขึ้น แต่ก็ไม่มี Recession เกิดขึ้นแต่ประการใด”

 
( Mr. Ken Lin )


ใน ออสเตรเลีย เมื่อผลตอบแทนพันธบัตร 3 เดือน-10 ปี เกิด IYC ขึ้น ก็ไม่ได้ยืนยันว่าจะตามมาด้วย Recession ทุกครั้งเช่นกัน ตั้งแต่ปี1975 ก็จะมีทั้งที่เกิด Recession โดยมีสัญญาณ IYC เกิดขึ้นก่อน และมี Recession ที่ไม่มีสัญญาณ IYC เกิดขึ้นแต่ประการใด แต่ก็มี วิกฤติ เกิดขึ้น เช่นเดียกันข้อมูลเหล่านี้ยังเกิดขึ้นใน ญี่ปุ่น และ เยอรมัน ด้วย


สำหรับสัญญาณ “
Inverted Yield Curve” ในปัจจุบันยังเป็นเพียงในบางช่วงอายุเท่านั้น หากมองผ่าน ‘2-10 Spread’ ก็ยังไม่เกิดสัญญาณดังกล่าวแต่ประการใด และนักลงทุนคงต้องพิจารณาถึงข้อมูลอื่นๆ ประกอบด้วยเพื่อจะได้วางแผนการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่อไป