“ตลาดเงินตลาดทุน”...ช่วงครึ่งหลังปี2019 (1)

>>

“It is not the strongest of the species that survives, nor the most intelligent that survives. It is the one that is the most adaptable to change.” เป็นวลีอมตะของ ชาร์ล ดาร์วิน บิดาแห่งทฤษฎีวิวัฒนาการ และวลีดังกล่าวกำลังถูกทดสอบโดยนักลงทุนทั่วโลกว่าจะสามารถปรับตัวให้อยู่รอดในตลาดเงินตลาดทุนช่วงครึ่งหลังปี 2019 ได้หรือไม่     


ต้นปี2019 เป็นหนึ่งในช่วงที่ตลาดการเงินอยู่กับความสับสน วุ่นวายและพลิกไปมาหลายตลบ นักลงทุนส่วนใหญ่อาจคิดว่าทางที่ดีที่สุดคือ หลบไปจากตลาด หรือรอให้ความผันผวนลดลงเสียก่อน

 


“ครึ่งปีแรกของปี
2019”...กลับสวนทางกับแนวคิดนี้


สินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ ไม่ได้ผันผวนไปกับทุกข่าวเหมือนแต่ก่อนและส่วนใหญ่ก็สร้างกำไรให้กับนักลงทุน เกิดเป็นคำถามมากมาย ตลาดไม่กังวลกับเรื่องวุ่นวายอย่างสงครามการค้าหรือเศรษฐกิจถดถอยแล้วหรือ


“พฤติกรรมตลาดที่เปลี่ยนไปนี้จะส่งผลอย่างไรในครึ่งปีหลัง อะไรคือสิ่งที่ตลาดคาดหวังไว้ อะไรคือความเสี่ยง และการลงทุนลักษณะไหนที่มีโอกาสได้ไปต่อ”


การหาคำตอบ มีสามขั้นตอนหลัก คือนักลงทุนต้องมอง ‘จุดเปลี่ยน’สำคัญของตลาดให้ออก เข้าใจความเชื่อ ของตลาด และ ‘เลือกลงทุน’ ในสินทรัพย์ที่เหมาะสม



ย้อนกลับไปช่วงครึ่งแรกของปี
2019 จุดเปลี่ยนสำคัญที่ต้องปักหมุดมี 3 เรื่อง


จุดเปลี่ยนที่
1 : ไฟเขียวปล่อยตัว เกิดในต้นเดือนม.ค.เมื่อเฟดส่งสัญญาณหยุดขึ้นดอกเบี้ยเพียงไม่ถึงหนึ่งเดือนหลังการขึ้นดอกเบี้ยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ก็ กลับลำ ส่งสัญญาณ หยุด ขึ้นดอกเบี้ย จบขาขึ้นของดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% และทำให้ตลาด เชื่อว่าเฟดมีโอกาสใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงได้


“สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกตอบรับด้วยการปรับตัวขึ้นแทบทั้งหมด โดยการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นที่สุดในเดือนม.ค.คือกลุ่มที่ราคาแปรผกผันกับดอกเบี้ยเช่น กองทุนอสังหาฯ ,ตราสารหนี้ภาครัฐ แถมด้วยการฉุดให้ ‘หุ้นตลาดเกิดใหม่’ ฟื้นตัว”

 

จุดเปลี่ยนที่ 2 : คือช่วงเดือนเม.ย. – พ.ค. การค้าร้อน แต่บอนด์เย็นสบาย


ช่วงปลายเดือนเ.ย. สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ทวีความร้อนแรงขึ้น กดดันให้ตลาดการเงินพลิกกลับมา ‘ปิดรับความเสี่ยง (Risk Off) หุ้นตลาดเกิดใหม่ คืนกำไร ในปีนี้ไปกว่าครึ่ง แต่สินทรัพย์ที่ยังโดดเด่นอยู่คือ ตราสารหนี้ ทั้งพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ทั่วโลก


จุดเปลี่ยนที่
3 : จุดยูเทิร์นสุดท้ายในครึ่งปีแรก เกิดขึ้นช่วงเดือนมิ.ย. ตลาดเชื่อ 100%” ว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยและสงครามการค้าจะมีบทสรุป


‘บอนด์ยีลด์’
แทบทุกประเทศ ทุกช่วงอายุ ปรับตัวลงทั้งหมด พร้อมกับตลาดที่เปิดรับความเสี่ยง หนุนให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้น ‘หุ้นสหรัฐ’ ทำจุดสูงสุดใหม่ในประวัติศาสตร์


ทั้งหมดชี้ว่าตลาดการเงินในต้นปี 2019 มีการปรับแนวคิดหันมาเชื่อว่าธนาคารกลางจะ “ต้องช่วยตลาด” ไม่กลัวความผันผวนหรือเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงเหมือนแต่ก่อน


ดังนั้นครึ่งหลังของปีนี้ นักลงทุนควรปรับมุมมอง และเตรียมใจรับ “3 ความท้าทาย” ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากความคาดหวังในช่วงครึ่งปีแรก